Page 327 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 327
309
ลองเอาจิตเข้าไปที่สีนั้น ลองดูว่าเขาเปลี่ยนยังไง ? เขามีการเปลี่ยนแปลง ไหม ? ขยายออกแล้วค่อยจางลง ? ตรงนี้แหละ.. ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้น แล้วค่อย จางลง เราก็เอาจิตเราเข้าไปเรื่อย ๆ ดูว่าเขาจะเปลี่ยนที่ไหน ? จนถึงที่สุด แล้วเป็นอย่างไร ? ตรงนี้.. เพราะฉะนั้นวิธีกาหนด ตรงนี้ก็คือสภาวะ อย่างหนึ่ง พออาการนี้หายไปเปลี่ยนเป็นเบาขึ้น โล่งขึ้น เราก็รู้เข้าไปอีก ใน ความเบา ความว่างนั้นต่อ เห็นไหมจะไม่มีว่างเปล่า ด้วยสมาธิของเราจะ ปรากฏแน่นอน
อยา่ งสภาวะทพี่ ดู มาเมอื่ กี้ รสู้ กึ เปน็ ไง ? นงิ่ ๆ สลวั ๆ โปรง่ ๆ ใชไ่ หม ? ในความโปร่งพอเราเข้าไปอีก โปร่งมากขึ้น ตรงนี้.. ไม่ว่าจะโปร่ง โล่ง เบา เราสามารถเอาจิตเราเข้าไปรู้ต่อ รู้การเปลี่ยนแปลงของเขาต่อไป เพราะความ โล่ง ความโปร่ง ความเบานั้น ถ้าเป็นความเบาของจิต เป็นความโล่งของจิต เขายังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ เพราะจิตไม่เที่ยง จิตไม่เที่ยงมีการเปลี่ยนแปลง อยู่เนือง ๆ เพราะฉะนั้นแม้แต่ความโล่งก็มีการเปลี่ยนแปลง เราจึงสามารถ กาหนดรู้การเปลี่ยนแปลงของเขาได้ แต่ความไม่เที่ยงของความโล่ง ไม่ใช่ ว่าเดี๋ยวโล่งเดี๋ยวหนักอย่างเดียว มันอาจจะเดี๋ยวโล่งมากขึ้น เบาขึ้น เบาขึ้น โล่งขึ้น ใสขึ้น สว่างขึ้น นั่นก็คือการเปลี่ยนแปลง เพียงแต่ให้รู้ว่า แต่ละขณะ เมื่อเราเอาจิตเข้าไป เขาเปลี่ยนอย่างไร ตรงนี้แหละจุดสาคัญเลย หลักของ วิปัสสนาตรงนี้
เห็นไหม.. ความรู้สึกหรือจิตที่ว่างก็มีการเปลี่ยนแปลง ถ้ารู้อย่างนี้ เราไม่ต้องกลัวติด ไม่ต้องกลัวติดความว่าง ไม่ต้องกลัวติดความโล่ง ไม่ต้องกลัวติดความสุข เพราะเรามีเจตนาที่จะรู้ความเปลี่ยนแปลงของเขา อยู่แล้ว มีบางครั้งนักปฏิบัติมีความเข้าใจว่าไม่ให้ยึดติดสุข ไม่ให้ติดทุกข์ ไม่ให้ติดในสุข ก็กลัวติดสุข ครั้งก่อนโน้นจาได้ เราไม่ติดสุขแต่ไปติด อุเบกขา เห็นไหม.. ไม่ติดสุขแต่ไปติดอุเบกขา ถามว่าติดเหมือนกันไหม ? ก็ ติดเหมือนกันอีก ทั้ง ๆ ที่จิตมันไม่เที่ยง เราก็ไม่ยึดอย่างใดก็ยึดอย่างหนึ่ง