Page 328 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 328

310
ที่จริงอุเบกขาเองก็ต้องเอาจิตเข้าไปรู้ แล้วเขาเปลี่ยนยังไง ? สังเกตพอเรา เฉย ๆ อาจารย์ถึงถามว่าพอเฉย ๆ ใจที่เฉยกว้างหรือแคบ ใจที่เฉยนิ่ง ๆ อยู่ ข้างหน้าหรือกว้างกว่าตัว ถ้ากว้างเมื่อไหร่จากที่เฉยก็จะเปลี่ยนเป็นเบาขึ้น นั่นจะไม่เฉย ๆ แล้ว เพียงแต่ว่าไม่มีความสุขเท่านั้นเอง พอเบาขึ้น ยิ่งกว้าง ยิ่งเบา ยิ่งกว้างยิ่งเบา จิตยิ่งกว้างยิ่งอิสระ
จิตยิ่งกว้างยิ่งอิสระ อิสระจากอะไร ? อิสระจากเครื่องพันธนาการ อิสระจากเครื่องพันธนาการก็คือความพอใจไม่พอใจ หรือว่าความโกรธ ความโลภ ความหลง ความหงุดหงิด ที่ทาให้เราไม่อิสระ จิตเราถูกครอบงา ด้วยอารมณ์เหล่านี้เมื่อไหร่ เราจะไม่ค่อยมีอิสระหรอก ถึงแม้ร่างกายเรา ไม่ถูกพันธนาการด้วยอะไรเลย เราจะไปที่ไหนก็ได้ ร่างกายเราอิสระหมด แต่จิตเราไปที่ไหนก็ไม่อิสระ เพราะว่ามันไปเกาะเกี่ยว ยึดติดกับอย่างใด อย่างหนึ่ง
เพราะฉะนั้นวิธีแก้ก็คือ เริ่มแรก.. ตัวไหนทาหน้าที่ยึดเกาะ ? ก็คือ ความรู้สึกว่าเป็นเรา กลับมาตรงนั้นอีกที คือดับความรู้สึกว่าเป็นเราก่อน เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออก แล้วขยายจิตเราให้กว้าง อันนี้เป็นแค่เบื้องต้น การทาจิตให้ว่างนั้นไม่ง่าย แต่การที่จะปฏิบัติให้ต่อเนื่อง ให้การปฏิบัติเรา ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ต้องพิจารณาอาการเกิดดับให้มาก ๆ การเกิดดับของรูปนาม อย่างเมื่อกี้โยมบอกว่าพอมันดับ แคบลง เสียงดับนั้นชัด แล้วก็แคบลง แคบลง จุดหนึ่งที่ต้องสังเกตก็คือว่า ขณะที่เสียงดับ จิตเราอยู่ที่เสียงหรือ อยู่ข้างนอกเสียง ต่อไปต้องไปอยู่ที่เดียวกับเสียง ให้จิตอยู่ที่เดียวกับเสียง พอเสยี งดบั สงั เกตวา่ จติ ทอี่ ยกู่ บั เสยี งนนั้ ดบั ไปดว้ ยหรอื ไม่ ? ตรงนดี้ บั ไปดว้ ย ทุกขณะ.. ทุกขณะ.. ทุกขณะ.. หรือเปล่า ?
เพราะฉะนั้นเวลาเรากาหนดลมหายใจ หรือเวทนาก็เหมือนกัน ถ้า เขามีอาการปุ๊บหมด.. ปุ๊บหมด เอาจิตเราเข้าไปเลย พอเข้าไปปุ๊บ เวลาเขา ปุ๊บหมด จิตดับไปด้วยไหม ? จิตดับไปด้วยหรือเปล่า ? ตรงนี้เป็นสภาวะจะ


































































































   326   327   328   329   330