Page 330 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 330

312
กว่านั้นต้องสอบอารมณ์ ปฏิบัติมาเล่าสู่กันฟัง เล่ามา ฟังแล้วเออ เป็นยังไง ถึงตรงไหนแล้ว
ส่วนมากก็ยังเล่าอารมณ์ไม่เป็นนะ เล่าสภาวะไม่ค่อยเป็น จะบอก วิธีเล่าสภาวะ ที่จริงก็บอกไปทุกวันนะวิธีเล่าสภาวะ ปฏิบัติไปกาหนด อะไร บ้าง ? ตอบไม่ถูก รู้แต่ว่าวันนี้รู้สึกเบาสบาย บางคนวันนี้อึดอัดจังเลย ทาไม่ได้เลย กาหนดอะไรไม่ได้ มีแต่อึดอัด ๆ ถามว่าอึดอัดแล้วทายังไง ? บอกไม่ถูก อึดอัดแล้วทายังไงบอกไม่ถูก ต้องรู้นะ เวลาถ้ามีอารมณ์ไหน อย่างเช่น.. พออึดอัดขึ้นมาทายังไง ? ต้องบอกด้วย เวลาเล่าสภาวะ พอรู้สึก ว่าปวดหัว หนัก ๆ ที่หัวขึ้นมาทายังไง หรือดูเฉย ๆ ดูความปวด ความหนัก เฉย ๆ หรือว่าเอาความรู้สึกเข้าไปที่ความปวด ถ้ากาหนดด้วยการ เอาจิต เข้าไปที่ความหนัก แล้วก็ขยายออก ความหนักนั้นค่อย ๆ เบา ค่อย ๆ บาง ก็เล่าตามนั้น หรือว่าดูเฉย ๆ ก็บอกว่าดูเฉย ๆ จะได้แก้ถูกว่าต่อไป ควรทาอย่างไร อย่างนั้นเล่าสภาวะ อย่างเช่น อย่างที่บอกเมื่อกี้ เมื่อกี้ก็ เหมือนเล่าสภาวะไปในตัวนั่นแหละ พอกาหนดลมหายใจ พอนั่งปุ๊บว่าง ดู ลมหายใจ ลมหายใจเป็นแบบนี้ จากที่เป็นเส้น เปลี่ยนเป็นบาง ๆ เบา ๆ หรือสะดุด ๆ ก็เล่าตามอาการแค่นั้น พอลมหายใจหมดไป ดูอะไรต่อ ก็เล่า ตามอาการนั้น นี่.. วิธีเล่าสภาวะ
ถ้าถามว่าเมื่อดูไปแล้วจิตใจเป็นยังไง จิตใจหรือความรู้สึกเป็น ยังไง ตรงนี้หมายถึงว่า รู้สึกเบา รู้สึกสงบขึ้น รู้สึกโล่งขึ้น หรือรู้สึกว่าตึง ๆ หนัก ๆ อันนี้เล่าได้หมด ไม่ใช่ว่าโล่งอย่างเดียวแล้วค่อยมาเล่าบางทีรู้สึก ว่านักปฏิบัติทาไม่ได้ เลยไม่กล้าเล่า ปฏิบัติแล้วรู้สึกว่ามันตื้อ ๆ ตื้อ ๆ.. เลยไม่กล้าเล่า พอปฏิบัติแล้วโล่ง อืม.. ดีใจจัง เลยมาเล่า ดีใจมีความสุข แสดงว่าตอนที่มีปัญหาไม่เล่า ก็เลยแก้ยาก วิธีการเล่าสภาวะก็เล่าทั้งดีและ ไม่ดี เพื่อที่เราจะได้แก้ปัญหา แก้สภาวะ แก้วิธีการปฏิบัติของเรา ให้ง่ายขึ้น หรือทาให้เร็วขึ้น จะได้ก้าวหน้าได้เร็วขึ้น


































































































   328   329   330   331   332