Page 336 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 336
318
เพราะความอยากของเรา อยากให้สงบ เมื่อไม่ได้ดั่งใจ จิตเราก็เลยซัดส่าย กระสับกระส่าย ตรงนี้แหละเขาเรียก กลายเป็นความฟุ้งซ่านจริง ๆ ตอนแรก เป็นแค่สัญญา ต่อมากลายเป็นความฟุ้งซ่านเพราะไม่ได้ดั่งใจ แต่ถ้าเราดับ ความรู้สึกว่าเป็นเรา แล้วพอใจที่จะรู้อาการเกิดดับของเขา ความฟุ้งซ่าน ไม่เกิดขึ้น เพราะความราคาญใจไม่เกิดขึ้น มีแต่สติตามกาหนดรู้การ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของความคิดเท่านั้น
ถ้าสังเกตอย่างนี้เราจะเห็นว่า แม้แต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ก็จะเริ่มสงบขึ้น นิ่งขึ้น แต่จะให้เร็วขึ้นอีก ให้สงบเร็วขึ้นอีก ก็คือให้จิตเรากว้างกว่าเรื่อง ที่คิด กลับมาตรงนี้อีก เพราะเมื่อไหร่จิตเรากว้าง ความมีตัวตนจะลดลง หรือหายไปทันที จะเหลือแต่จิต และสติจะมีกาลัง เมื่อสติมีกาลัง สมาธิก็ จะมีกาลังขึ้นด้วย มันก็เลยกลายเป็นความสงบและตื่นตัว มีสติรับรู้อารมณ์ แม้มีความคิดเหล่านั้นเกิดขึ้นก็ตาม ถ้าแยกอย่างนี้ ความคิดที่เกิดขึ้นก็ ไม่ทาให้จิตเราเศร้าหมอง เมื่อจิตเราไม่เศร้าหมอง เขาเรียกว่าอะไร ? ความ คิดก็สักแต่ว่าความคิด ไม่สามารถทาให้กิเลสเกิดกับจิตเราได้
เมื่อกิเลสไม่เกิดแล้วทาไมเราต้องกังวล ? ไม่ใช่ว่าความคิดไม่เกิด ความคิดเกิด แต่ไม่มีกิเลสเข้าไปรับรู้ มีแต่สติกับจิตที่ว่างทาหน้าที่รับรู้ เรา ก็ไม่ต้องกังวล เมื่อไม่กังวล มันก็ไม่เครียด มันก็จะจบไปเอง มันก็จะกลาย เป็นความคิดที่ตั้งอยู่บนความเบา เขาเรียกว่า สักแต่ว่าสัญญา สักแต่ว่า สัญญา สังขารก็สักแต่ว่าสังขาร ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ขันธ์ ก็สักแต่ว่าเป็นขันธ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เป็นคนละส่วนกัน การ เปลี่ยนแปลงของขันธ์นั้นไม่สามารถทาให้จิตเราเศร้าหมอง หรือเป็นทุกข์ได้ นั่นน่ะ.. เราหลุดพ้นจากวงจรของความคิด หลุดพ้น ความคิดนั้นไม่ทาให้ เราทุกข์ได้ แสดงว่าหลุดพ้นออกมาชั่วขณะหนึ่ง ๆ ไม่ยากใช่ไหม ? ปฏิบัติ ธรรมเป็นสิ่งที่เราทาได้อยู่แล้ว ไม่ยากหรอก ขอให้รู้วิธี ให้เข้าใจนิดหนึ่ง
พอเราไม่เข้าใจ เราก็จะไปหาอยู่นั่นแหละ จะหาอะไร ? พอปฏิบัติ