Page 335 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 335
317
จิตออกข้างนอก จิตล่องลอย จิตล่องลอยไปเรื่องโน้นเรื่องนี้ เขาเรียกจิต ล่องลอย จริง ๆ อาจารย์เรียกว่าความคิด ไม่ได้ว่าจิตล่องลอย บางคน เรียกว่าฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่านนี่เราราคาญแล้วนะ แต่ถ้าลอยไป จิตมีความคิด เรื่องโน้นเรื่องนี้ แล้วคล้อยตามความคิด เราเรียกว่าความคิด ซึ่งเป็นขันธ์ ๆ หนึ่งของขันธ์ ๕ ที่เรียกว่าสังขารขันธ์ ถ้าความคิดนั้นเป็นการปรุงแต่งของ เราที่ปรุงแต่งต่อจากสัญญาขันธ์ สัญญาขันธ์ก็คือเรื่องราวในอดีตหรือ ตอนกลางวันที่ผ่านมาปรากฏขึ้นมา ที่ติดอยู่ในใจเรา พอโผล่ขึ้นมา เราก็ คิดต่อ ตรงที่ปรากฏขึ้นมาเป็นสัญญาขันธ์ แต่พอเราคิดต่อปรุงแต่งต่อ เป็นสังขารขันธ์ นั่นเป็นขันธ์ ๆ หนึ่งในขันธ์ ๕ เมื่อเป็นขันธ์ ๆ หนึ่งในขันธ์ ๕ เราจะทาอย่างไร ?
พระพุทธเจ้าบอกว่า การมีอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ การเข้าไปยึด ในขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็ตรัสอีกว่า ขันธ์ ๕.. สัญญา ไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง แล้วทาไมต้องไปยึด ? แล้วทาไมต้องไปบังคับ ? เพราะฉะนั้นเราก็ใช้วิธีมีสติตามกาหนดรู้ความไม่เที่ยงของขันธ์นั้น ของ สัญญาขันธ์ ของสังขารขันธ์ ที่กาลังเกิดขึ้นเสีย เหมือนพอนั่งปุ๊บ มีความคิด.. ไม่สงบเหมือนเมื่อวาน ไม่สงบเหมือนเมื่อเช้า พอนั่งมีความคิดเข้ามาเลย แล้วเราจะกาหนดได้อย่างไร ? จะกาหนดได้ก็ต่อเมื่อเราแยกชัดว่าเรื่องที่ คิดกับจิตเราเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน ต้องแยกนะ ถ้าไม่แยกเรา กาหนดไม่ถูก ถ้าแยกได้แล้วเห็นว่าเรื่องที่คิดกับจิตเราเป็นคนละส่วนกัน เราก็นิ่ง ๆ เสีย ให้จิตเรานิ่งแล้วดูความคิดที่เกิดขึ้น พอขึ้นมาแล้วดับยังไง ? ขึ้นมาแล้วหายยังไง ? แค่นั้นเอง แล้วเราจะไม่กระวนกระวายเลย เพราะ เรานิ่ง จิตเราก็สงบ พอสงบ ความคิดที่เกิดขึ้นเขาก็พลอยสงบไปด้วย
แต่ถ้าเราไม่พอใจเรื่องที่คิด มันจะกระสับกระส่าย จิตเราจะกระสับ กระส่าย เมื่อยิ่งกระสับกระส่ายมากเท่าไหร่ ความคิดจะยิ่งเยอะขึ้นมาก เท่านั้น เพราะอะไร ? เพราะมีตัวตนและไม่ได้ดั่งใจ เพราะมีตัวตนนั่นเอง