Page 35 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 35
17
จิตที่ว่างเบาคลุมตัว แล้วมาพิจารณาอาการของลมหายใจ ถ้าเรากาหนด อาการของลมหายใจหรือพองยุบ นอกจากใช้จิตที่ว่างเบาคลุมตัว จนตัวเอง รู้สึกว่านั่งอยู่ในที่ว่าง ๆ เบา ๆ แล้ว ให้เอาจิตที่ว่างเบาตามลมหายใจ...
ลองดู เวลาหายใจเข้าไป ให้ความรู้สึกที่โล่ง ๆ ว่าง ๆ เบา ๆ เข้าไป ด้วย เวลาหายใจออกมาให้ความรู้สึกที่โล่งเบาออกมาด้วย พร้อมกับสังเกต ไปว่า ขณะที่หายใจเข้า หายใจออก อาการของลมหายใจนั้นมีลักษณะ อย่างไร ? อย่างที่บอกเมื่อเช้าว่า เขาเป็นเส้น เป็นคลื่น หรือมีอาการขาดช่วง เป็นขณะ ๆ หรือเป็นอย่างไร ? เราสังเกตตามที่เขาเป็น ไม่ต้องไปบังคับ แต่ ให้ “รู้ชัด”
คาว่า “กาหนดอารมณ์” หมายถึงว่า รู้ชัดในรู้ รู้ชัดในสิ่งที่เห็น รู้ชัด ในสิ่งที่เป็น รู้ว่าอาการที่เกิดขึ้นมีลักษณะอย่างไร เกิดแล้วดับอย่างไร มีแล้ว หายไปอย่างไร ให้เอาจิตที่ว่างเบาเกาะติดไปกับอาการ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้น สุด ถ้ากาหนดพองยุบ ก็เอาจิตที่ว่างเบาไปไว้ที่อาการที่ท้องพองยุบ ขณะที่ พองออกจนสิ้นสุด เขาหยุดยังไง ? หายไปยังไง ? พอยุบลงสิ้นสุด เขาหาย อย่างไร ? ดับในลักษณะอย่างไร ? ไม่ต้องบังคับ ให้รู้แบบสบาย ๆ ว่าง ๆ ให้รู้ชัดในสิ่งที่เขาเป็น
ถ้าอาการนั้นช้า ก็ให้ตามไปจนสิ้นสุด เขาช้า เราก็ต้องช้า ไม่ต้องไป บังคับ ไม่ต้องไปเร่ง ถ้าเขาเร็ว เราก็ต้องเกาะติดไป มีสติรู้อยู่กับอาการที่ เกิดขึ้นและเปลี่ยนไป พิจารณาดูอาการของรูปนาม ตรงนี้แหละที่ให้แยกว่า กายกับจิตเป็นคนละส่วนกัน เราจะได้เห็นว่า จิตที่ว่างเบากับพองยุบ จิตที่ว่าง เบากับลมหายใจเข้าออก เขาเป็นคนละส่วนกันด้วยหรือเปล่า ? และอาการ ของพองยบุ หรอื ลมหายใจเขา้ ออก เขาตอ่ เนอื่ งกนั เปน็ เสน้ หรอื มกี ารขาดตอน หรือมีการเกิดแล้วดับในลักษณะอย่างไร ? ตรงนี้เป็นสิ่งสาคัญ
แล้วอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกาหนดรู้อาการเหล่านี้ไปเรื่อย ๆ สภาพจิตใจ จะเป็นยังไง ? ให้ทาแบบนี้ก่อน แล้วหลังจากนั้นค่อยสนทนากันดูว่า สภาวะ