Page 36 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 36

18
ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเรากาหนดรู้ด้วยจิตที่ว่างไม่มีตัวตน เมื่อ ไม่มีตัวตน ความอยากไม่ปรากฏขึ้น หรือกิเลสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโลภะ โทสะ หรือโมหะ ไม่เกิดขึ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้อย่างไม่มีตัวตน แต่เมื่อไหร่ กต็ ามทมี่ คี วามรสู้ กึ วา่ เปน็ เราเกดิ ขนึ้ ความมตี วั ตนเกดิ ขนึ้ ความฟงุ้ ซา่ น ความ หงุดหงิด ความราคาญใจก็เกิดขึ้น
ทีนี้เรารู้วิธีกาหนด อย่างที่บอกเมื่อกี้ว่า ให้คิดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ ทาให้เราไม่สบายใจ ที่ให้แยกระหว่างจิตกับเรื่องที่คิด เป็นส่วนเดียวกันหรือ คนละส่วน ที่เราตอบกันว่าเป็นคนละส่วน เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นเป็นคนละ ส่วน เรารู้ว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้กับเรื่องที่คิดเป็นคนละส่วนกัน ทีนี้เมื่อมีความ คิดเกิดขึ้นในขณะที่ปฏิบัติ ให้มีเจตนาหรือพอใจที่จะรู้อาการเกิดดับของ ความคิด รู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของความคิด ในลักษณะเดียวกัน กับการกาหนดรู้ลมหายใจเข้าออก หรือการกาหนดรู้พองยุบ ให้กาหนดรู้ใน ลักษณะอย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นพองยุบ ลมหายใจเข้าออก ความปวด หรือความ คิดที่เกิดขึ้น ให้กาหนดรู้ถึงความเป็นคนละส่วนก่อนเสมอ เพราะอะไร ?
การที่เรากาหนดรู้ความเป็นคนละส่วน ระหว่างความรู้สึกหรือจิตที่ ทาหน้าที่รู้ กับอารมณ์ที่เกิดขึ้น นั่นคือการละอุปาทานในเบื้องต้น การกาหนด รู้อย่างนี้ทาให้เห็นชัดถึงธรรมชาติของรูปนามขันธ์ ๕ ที่บอกว่าขันธ์ทั้ง ๕ แยกส่วนกันเป็นส่วน ๆ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ วิญญาณ คือ จิตที่ทาหน้าที่รู้ เวทนา อย่างที่บอกแล้วคือ ความปวด เมื่อย ชา คัน เป็นขันธ์ ๆ หนึ่งที่ปรากฏขึ้นมา เพราะฉะนั้น ขันธ์ทั้ง ๕ ไม่ได้บอกว่าเป็น ของใคร กายไม่ได้บอกว่าเป็นเรา จิตไม่บอกว่าเป็นเรา แต่ก็ “กาลังเป็นไป ตามเหตุปัจจัย”
เพราะฉะนั้น เรารู้เราเข้าใจว่า ขันธ์ ๕ ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ไม่ควรเข้าไปยึดเอาว่าเป็นของเรา เรารู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นของไม่เที่ยง มีการ เปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อยู่ตลอดเวลา แต่อย่างหนึ่งที่เรายังทา


































































































   34   35   36   37   38