Page 37 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 37
19
ไม่ได้ ก็คือการเข้าถึงหรือการเห็นจริง ๆ ว่า รูปนามขันธ์ ๕ ในปัจจุบัน ที่ แสดงความไม่เที่ยงอยู่นั้น เป็นอย่างไร แม้แต่ลมหายใจเข้าออกหรือพอง ยุบ บางครั้งถ้าสติเราไม่ตั้งมั่น ไม่ดี หรือไม่พิจารณาจริง ๆ เราก็เห็นแต่ว่า เข้าออกหรือพองแล้วก็ยุบ ไม่เห็นว่าเขาดับอย่างไร แต่ก็อนุมานว่าเขาเกิด แล้วดับ เพราะหายไปแล้ว เพราะเปลี่ยนแล้ว
การปฏิบัติธรรม การพิจารณาธรรม ไม่ใช่อนุมานหรือตรรกะ เพราะ การอนุมานหรือตรรกะ ไม่ได้ละกิเลสของเรา เพียงแต่ละความสงสัยเท่านั้น เอง เราเข้าใจได้แต่ไม่ชัดเจน จึงบอกว่าการปฏิบัติธรรมของเราเข้าใจแต่เข้า ไม่ถึง ก็ลึกซึ้งไม่ถึง ๕๐% ของความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น การ กาหนดรู้อาการเกิดดับของพองยุบ รู้อาการเกิดดับของลมหายใจเข้าออก รู้ อาการเกิดดับของเวทนา กาหนดรู้อาการเกิดดับของความคิด จึงต้องมีจิตที่ ตั้งมั่นและตั้งใจจริง ๆ เข้าไปสังเกตรู้จริง ๆ ให้เห็นด้วยตัวเอง ตรงนี้และที่ เขาเรียกว่าเป็น “ปัจจัตตัง” เห็นได้ด้วยตัวเอง
เห็นได้ด้วยตัวเอง เห็นอย่างไร ? ทาอย่างไรถึงจะเห็น ? ก็แค่ใส่ใจที่ จะรู้ พอใจที่จะกาหนดรู้ ก็คือธัมมวิจยะ คือการสังเกตนั่นเอง ไม่ต้องบังคับ แค่สังเกตดูว่าเขาเป็นอย่างไร จากที่เราเคยเห็นว่า เคยรู้สึกว่า เขาเปลี่ยน อย่างนี้ หมุนไปเป็นวงกลม เข้า ออก เข้า ออก เป็นวงกลม แต่ถ้าเราเพิ่ม ความนิ่งมากขึ้น แล้วเอาจิตเข้าไปในวงกลมนั้น ในเส้นนั้น ลองดูว่า เขามี อาการอย่างไร ? เปลี่ยนไปอย่างไร ? นั่นคือกาหนดรู้การเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ ไปบังคับ อ๋อ! เห็นแล้ว มันเป็นวงกลมอยู่อย่างนี้ มันไม่หยุด มันเวียนอยู่ เรื่อย ๆ เวียนอยู่เรื่อย ๆ เห็นความไม่เที่ยง อันนั้นเห็นเบื้องต้นเท่านั้นเอง
ในสภาวะที่เกิดขึ้น ที่บอกว่าจะทาให้จิตเราละเอียดมากขึ้น เราตั้งใจ มากขึ้น สังเกตมากขึ้น วิธีที่จะทาให้ปัญญาเราเกิด ปัญญาที่จะเห็นอาการ พระไตรลักษณ์นั้น “สติกับอาการจะต้องอยู่ที่เดียวกัน” หรือ “จิตกับอาการ จะต้องอยู่ที่เดียวกัน” ไม่ใช่อยู่คนละที่ ลองสังเกตดูนะว่า เวลาตามลมหายใจ