Page 39 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 39
21
ก็ไม่หายไม่หมดสักที จนหมดเวลาแล้วก็ยังมีอยู่ อันนี้ก็อย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา ตามแล้วเขาจะหมดทุกครั้ง และก็ไม่ตั้งอยู่อย่างนั้นทุกครั้ง
เพราะฉะนั้น จึงบอกว่าการกาหนดสภาวะ การกาหนดอารมณ์นั้น จึงต้องตั้งใจ ใส่ใจ และการพิจารณาอย่างนี้เป็นสิ่งสาคัญมาก ๆ การปฏิบัติ ที่เราจะได้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวธรรมของอารมณ์ที่เกิดขึ้น เพราะ การกาหนดรู้ถึงอาการพระไตรลักษณ์ การเกิดดับตรงนี้ จะทาให้จิตเรา คลายจากอุปาทาน คลายทิฏฐิที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือความลังเลความสงสัย ของเรา “วิจิกิจฉา” ความลังเลสงสัยในอารมณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมะที่เกิดขึ้น ว่าเป็นจริงอย่างนั้นหรือเปล่า ที่เราเห็นนั้นมันเป็นสภาวะจริง หรือเราคิดขึ้น มา หรือเราปรุงแต่งขึ้นมา
เพราะฉะนั้น การที่เราพิจารณาหรือกาหนดรู้อย่างไม่มีตัวตน ที่ตอน แรกบอกให้ทาจิตให้ว่างก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาอาการนี่ เพื่อป้องกันการ ปรุงแต่งอย่างหนึ่ง เพื่อที่จะได้รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมที่เกิดขึ้น อย่างหนึ่ง เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเมื่อเห็นอาการเกิดดับของอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ต่อไปเรื่อย ๆ สภาพจิตใจเราจะเปลี่ยนไปอย่างไร ? จากที่ว่าง ๆ เบา ๆ สงบ ต่อไปเขาจะเปลี่ยนไปอย่างไร ? เพราะการกาหนดรู้ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ย่อมมีผลกับจิตของเรา ไม่ว่าสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม นั่นเป็นผลที่เกิดขึ้น
แต่ถ้าเรากาหนดได้ปัจจุบัน เรารู้อย่างไม่มีตัวตน จิตความเป็นกุศล ก็จะมีกาลังมากขึ้น ยิ่งมีปัญญาพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงของอารมณ์ ที่เกิดขึ้นมากเท่าไหร่ อุปาทานการยึดมั่นถือมั่นที่เคยยึดเอาไว้ก็จะคลาย ไปเอง ถึงแม้เราอยากจะยึด มันก็ไม่ยึด ปฏิบัติไป ถ้าเรากาหนดรู้ทันนะ เราเห็นอาการเกิดดับไปเรื่อย ๆ บางอย่างพอเรารู้สึกอยากจะยึดเอาไว้นาน ๆ จิตก็ไม่ยึด แม้แต่ความสุข ความว่าง ความเบา หรือความทุกข์ เขาก็จะไม่ยึด
ต่างกันนะ เราพยายามที่จะวางแต่ไม่วาง กับที่เราเห็นตามความเป็น จริงแล้วไม่ยึด ต่างกันเยอะผลที่ตามมา เพราะฉะนั้น ตอนนี้เราอยู่ในช่วงที่