Page 40 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 40
22
เราเริ่มปฏิบัติ หรือถึงแม้ปฏิบัติที่ผ่านมา แต่การพิจารณาสภาวธรรมเพื่อการ ละอุปาทาน การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ยึดมั่นในรูปว่าเป็นของเรา ยึดมั่นใน เวทนาว่าเป็นของเรา ยึดมั่นในสัญญาว่าเป็นของเรา ยึดมั่นในสังขารว่าเป็น ของเรา หรือยึดมั่นในวิญญาณหรือใจรู้ว่าเป็นของเรา
ส่วนใหญ่เราเข้าใจว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของเรา แต่ก็ยึดตัววิญญาณ คือจิต ที่ทาหน้าที่รู้ ว่าเป็นเรา เราเป็นผู้ทาหน้าที่รับรู้ทุก ๆ เรื่อง ทุกอารมณ์ที่เกิด ขึ้น ยึดเอาจิตนั้นว่าเป็นเรา เราสมมติว่าตัววิญญาณนั้นเป็นเรา แต่ความจริง เขาไม่ได้บอกว่าเป็นเรา เหมือนเมื่อกี้ที่ถามว่า จิตที่ว่างเบา เขาบอกว่าเป็นเรา หรือเปล่า ? จิตที่ว่างเบา ทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ได้หรือเปล่า ? เราบอกว่าจิตที่ ว่างเบาไม่ใช่เรา แต่จิตที่ว่างเบาก็สามารถทาหน้าที่รับรู้อารมณ์ได้ รับรู้ความ คิดได้ รับรู้ความปวดได้ รับรู้ลมหายใจได้ รับรู้ว่าจิตกาลังปรุงแต่งอย่างไร ก็ได้ รับรู้อาการต่าง ๆ ที่กาลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่ ลองพิจารณาดู นะ ลองกาหนดตาม
ทีนี้ ถ้าเราตามรู้ลมหายใจไปเรื่อย ๆ ถ้าลมหายใจยังมียังปรากฏอยู่ ตามลมหายใจไป เสียงอาจารย์ถ้าต่างออกไป ไม่ตรงกับสภาวะของเรา ก็ไม่ ต้องไปห่วง ไม่ต้องไปกังวล ให้มารู้อาการอารมณ์ปัจจุบันของเราไปว่าเปลี่ยน ไปในลักษณะอย่างไร เพราะต่อไปอาจารย์จะถามแล้ว เวลาเราปฏิบัติแล้ว สภาวะเป็นอย่างไร ? อาการของลมหายใจ อาการของพองยุบ มีลักษณะ อย่างไร ? เกิดดับหรือไม่ ? หรือวนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา ? และเมื่อ มีความคิดเกิดขึ้น เรากาหนดอย่างไร ? ความคิดที่เกิดขึ้น ดับในลักษณะ อย่างไร ? อันนั้นคือสิ่งที่เราต้องมาคุยกัน
และหลังจากนั้นถ้าไม่เข้าใจก็ให้ถาม การทาความเข้าใจในการปฏิบัติ นั้นเป็นสิ่งสาคัญ อย่างที่บอกเมื่อช่วงบ่ายว่า การที่เรารู้เจตนาในการปฏิบัติ ของเรา จะทาให้การปฏิบัติของเราเป็นไปได้ด้วยดี และจะปฏิบัติได้ง่าย ไม่ เกิดความรู้สึกกังวล จิตก็จะสงบ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะอะไรที่เกิดขึ้น ก็พอใจที่