Page 38 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 38

20
เข้าออกหรือตามพองยุบนั้น สติของเราอยู่ที่เดียวกันกับพองยุบ อยู่ที่เดียว กับอาการ หรือมีช่องว่าง หรือเป็นเพียงผู้ดูอยู่ ? อันนี้ก็ต้องสังเกต เพราะ
อะไร ?
จะมีอยู่ลักษณะหนึ่งก็คือว่า แรก ๆ นี่ จิตเราเข้าไปที่พองยุบหรือ
เข้าไปที่ลมหายใจ พอเขาหมุนไปสักพักหนึ่ง กลายเป็นผู้ดูแล้ว เขาเปลี่ยน ไปนิดหนึ่ง แล้วเราก็มาเป็นผู้ดูแล้ว ตอนนั้นอาการชัด เราก็เป็นผู้ดู สักพัก ก็เผลอ กลายเป็นผู้ดูไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่เข้าไปที่อาการ ตรงนี้เป็นสิ่งสาคัญ เพราะฉะนั้น ต้องใส่ใจให้ต่อเนื่อง และบอกตัวเองเสมอว่า “อาการที่เราเห็น ยังไม่เป็นที่สิ้นสุด” อาการพองยุบหรือลมหายใจเข้าออกที่กาลังเห็น ยังไม่ เป็นที่สิ้นสุด ตามอาการพองยุบหรือลมหายใจเข้าออกให้ตลอด การกาหนด อารมณ์ ให้ “ตามให้ต่อเนื่อง”
อย่างเช่น ขณะที่ลมหายใจหรือพองยุบเราชัดอยู่ประมาณสักสิบ นาที สมมตินะ ภายในสิบนาทีนี้ ต้องสังเกตให้ชัด จนลมหายใจหรือพองยุบ หายไป ให้รู้ชัดว่าสุดท้ายเขาหายในลักษณะอย่างไร ? ค่อย ๆ จาง ค่อย ๆ เบา หรือเป็นอย่างไร ? อันนี้ไม่ให้ช้อยส์แล้วนะ ให้สังเกต ตรงนี้แหละคือปัญญา ที่พิจารณาเห็นตามความเป็นจริงของสภาวธรรมที่เกิดขึ้น และถ้าอาการพอง ยุบหรือลมหายใจหายไป จะทายังไงต่อ ? สิ่งที่ต้องรู้ทันทีก็คือ “ผลที่ตาม มา” พอพองยุบหายไปหรือลมหายใจหายไป ขณะนั้น บริเวณนั้น รู้สึกเป็น อย่างไร ? รู้สึกว่างไป รู้สึกโล่งไป รู้สึกสงบ รู้สึกสว่างขึ้นมา รู้สึกมืดไป หรือ เป็นอย่างไร ? ล้วนแล้วแต่ต้องสังเกต
ที่อาจารย์ถามอย่างนี้ บางครั้งเผื่อว่าโยคีไม่ค่อยได้ถามตัวเอง และ ไม่ค่อยได้สังเกต รู้แต่ว่า อ๋อ! หายไปแล้ว สติเราอ่อนแล้ว พองยุบหายไป ลมหายใจหายไป แสดงว่าเราหลุดไปแล้ว สติเราอ่อนแล้ว การเปลี่ยนแปลง เหล่านี้ การกาหนดอารมณ์ต่าง ๆ จึงบอกว่าต้องมีเจตนารู้ให้ชัดว่าอาการ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนไป ที่สุดแล้วเขาหายไปอย่างไร หรือตามเท่าไหร่


































































































   36   37   38   39   40