Page 435 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 435

417
มั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ไม่เข้าใจว่าขันธ์ ๕ นี้ ตั้งอยู่ในกฎพระไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ ในกฎของความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ไปยึดเอาว่ามันเที่ยง มันเป็น อยู่อย่างนั้น เปลี่ยนแปลงไม่ได้ พอเห็นการเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ ใจก็ทุกข์ ใจก็เศร้าหมอง
เพราะฉะนั้น การกาหนดรู้อาการเกิดดับของรูปนามของเรา ของกาย ของใจ ที่เรากาลังดูขณะนี้ เดี๋ยวนี้ เราพิจารณาด้วยจิตที่บริสุทธิ์ ไม่มีความ เป็นเราเป็นเขา เข้าไปรู้ ไม่มีความอยาก มีแต่ “สติ” กับ “ปัญญา” ที่รู้ตาม ความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏขึ้นข้างหน้าเราว่าเป็นอย่างไร มีการเกิดดับ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จะทาให้จิตใจเราผ่องใส คลายจากอุปาทาน ทาให้ จิตใจเราบริสุทธิ์ สงบ ทาให้จิตเราเบิกบาน ทาให้จิตเราเป็นมหากุศล เพราะ ฉะนั้น เวลาเรากาหนดรู้ ต้องดูให้ชัด อย่าเคลิ้ม ถ้าเคลิ้มเมื่อไหร่ก็ต้อง เปลี่ยน ต้องรู้อาการเคลิ้มนั้น ถ้าง่วงก็ดูความง่วง ดับความง่วง อย่าให้หลับ
การรู้ชัดในรู้ คือ การเจริญสติ การมีสติ ถ้าเรารู้ไม่ชัด แสดงว่าสติ เราอ่อน แต่ถ้าเรารู้ชัดในสภาวะที่เกิดขึ้น ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไรก็ตาม รู้ชัด ถึงการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นขณะ ๆ ทุก ๆ ขณะจิต ทุก ๆ สภาวะที่เกิดขึ้น จะทาให้สติเรามีความต่อเนื่อง เมื่อสติเรามีความต่อเนื่อง รู้ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน สมาธิของเราก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ไปในตัว เพราะฉะนั้น การที่เราจะทาให้สมาธิเราดี ก็คือการมีสติรู้อยู่กับ ปัจจุบัน
เพราะฉะนั้น เวลาเรานั่งสมาธิหรือปฏิบัติธรรมขณะนี้ เราต้องรู้ว่า อารมณ์ปัจจุบันที่เรากาลังตามรู้อยู่นี้คืออะไร ตามรู้อาการของลมหายใจ ตามรู้การเปลี่ยนแปลงของพองยุบ ตามรู้การเกิดดับของความคิด ตามรู้การ เปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับของเวทนา ของความปวด อาการชา อาการคัน ให้ ตามรู้สภาวะที่เกิดขึ้นกับตัวเราว่าขณะนี้เป็นอย่างไร หรือตามรู้สี แสง ที่เกิด ขึ้น หรือตามรู้เสียงที่ได้ยิน รู้อาการเกิดดับของเสียง รู้อาการเกิดดับของสี รู้


































































































   433   434   435   436   437