Page 438 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 438
420
ดูไม่ชัด เคลิบเคลิ้ม เผลอ ๆ ถีนมิทธะก็เข้ามา เขาเรียก “ตัวนิวรณ์” นิวรณ์ คือ ตัวขวาง ตัว “ปิดกั้นปัญญา” ไม่ให้เราพิจารณารู้ตามความ เป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นอาการของรูปนามที่ปรากฏขึ้นมา ก็เลยไม่ เห็นอะไร เห็นแต่ว่าง ๆ เงียบ ๆ เห็นแต่ความมืด เห็นแต่สลัว ๆ แล้วก็หาย ไป เพราะฉะนั้น ขอให้เราทั้งหลายจงใส่ใจพิจารณาให้ดีถึงสภาวธรรมที่ เกิดขึ้นอย่าดูเผิน ๆ รู้แล้วผ่านไป สภาวธรรมที่เกิดขึ้น ถ้าเราอยากเห็นชัด อยากเข้าใจ ก็ต้อง “น้อมใจเข้าไปรู้” แล้ว “พิจารณารู้การเปลี่ยนแปลง” ของ
เขาไป แต่ไม่ใช่บังคับให้เขาเกิด หรือบังคับให้เขาหายไป เรามีหน้าที่เข้าไปกาหนดรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป รู้ความเป็น
อนิจจัง รู้ความเป็นทุกขัง รู้ความเป็นอนัตตา “ความเป็นอนัตตา” หมายถึง ว่าสภาวธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เราไม่สามารถบังคับให้เป็นไปดั่งใจเราได้ เมื่อ เกิดขึ้นแล้ว เขาก็ต้องดับ เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้ดับ ก็ไม่ได้ บังคับไม่ให้ดับ ไม่ให้หมดไป ก็ไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับ บังคับไม่ได้ในลักษณะของ ความเป็นอนัตตา ดับแล้วไม่ให้เกิด ก็ไม่ได้ ดับแล้วเขาก็เกิดอีก มีแล้ว หมดไป มีแล้วหายไป เกิดใหม่... ซ้า ๆ อยู่ตลอดเวลา
ชีวิตของเราก็อย่างนี้แหละ เราตั้งอยู่ได้ เพราะ “ความเปลี่ยนแปลง” เราเจริญเติบโตได้ ก็เพราะความเปลี่ยนแปลงที่เราบังคับไม่ได้ ที่ตั้งอยู่ได้ เพราะความเปลยี่ นแปลงกค็ อื การหายใจเขา้ หายใจออกของเรานแี่ หละ งา่ ย ๆ เลย ถ้าหายใจเข้า ไม่หายใจออก เราก็แย่ ถ้าหายใจออก ไม่หายใจเข้า เรา ก็ตาย นั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่ทาให้เราดารงอยู่ได้ มันเป็น สิ่งที่ต้องอาศัย แต่ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ เราต้องเข้าใจในสภาวธรรมที่เกิดขึ้น
ในชีวิตของเราก็เหมือนกัน สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเราทุกวันนี้ ไม่ว่า เกิดขึ้นในร่างกายเราเอง หรือนอกตัวเรา ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนเรา ทุก ๆ อย่างล้วนตั้งอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ ซึ่งเราทั้งหลายก็รู้กัน คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป... เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป... ไม่มีอะไรตั้งอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา