Page 440 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 440
422
การกาหนดอาการเกิดดับของความคิด การกาหนดรู้ความคิดไม่ต้องคล้อย ตามนะ ไม่ใช่ว่าเขาคิดยังไงเราก็คล้อยตามไป อันนั้นเราไม่ได้กาหนด เขา เรียก “ไหลตามอารมณ์”
แต่ถ้าเรามีสติ พอใจที่จะรู้ว่า ความคิดเรื่องนี้เกิดมาแล้วดับแบบนี้ ภาพนี้ขึ้นมาแล้วดับอย่างนี้ ถ้ากาหนดรู้อย่างนั้น เราจะไม่ปรุงแต่งต่อ ไม่สาน ต่อ ไม่ทากรรมต่อ มันจะหยุด เราจะเป็นเพียงผู้ดู ผู้กาหนดรู้ถึงความไม่เที่ยง ของเขา “รู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของเขา” ตรงนี้เป็นสิ่งสาคัญ ในการ กาหนดรู้ เรามีเจตนาที่จะกาหนดรู้อาการเกิดดับของรูปนาม ของลมหายใจ กาหนดรู้อาการเกิดดับของความคิด หรืออาการเกิดดับของเวทนา ขณะที่ เรากาหนดรู้ ตามรู้อาการเกิดดับนั้นโดยที่เราไม่ปรุงแต่ง เราจะเห็นว่าจิตที่ เข้าไปกาหนดรู้นั้น เป็นจิตที่บริสุทธิ์ บริสุทธิ์จากโลภะ โทสะ โมหะ มีแต่ “สติ” ตามรู้อยู่ จิตจะเป็นหนึ่ง เป็นอุเบกขา ตามรู้สภาวะที่เกิดขึ้น
เวลาเรานั่งกรรมฐานอย่างนี้ อารมณ์ที่เราตามรู้คืออารมณ์ที่ละเอียด เพราะฉะนั้น จึงต้องใช้สติที่มีกาลังเป็นพิเศษเหมือนกัน จึงจะเห็นสภาวะที่ ละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้นได้ “สติที่มีกาลังเป็นพิเศษนี้” จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ? สติที่ มีกาลังเป็นพิเศษ เขาเกิดขึ้นทุก ๆ ขณะที่เราตามรู้ ทุก ๆ ขณะที่เราใส่ใจ ทกุ ๆ ขณะทเี่ ราตามรชู้ ดั ถงึ สงิ่ ทเี่ กดิ ขนึ้ ไมไ่ ดร้ แู้ บบผา่ น ๆ ไมไ่ ดร้ แู้ บบเบลอ ๆ ไม่ได้รู้แบบสลัว ๆ หรือไม่ได้รู้แบบเฉย ๆ เฉื่อย ๆ แต่ตามรู้อย่างชัดเจน ที่เรียกว่า “รู้ชัดในรู้”
ถึงแม้อารมณ์นั้นจะใหญ่ จะเล็ก จะบาง จะเบา จะละเอียดแค่ไหน ก็ตาม มีสติตามรู้ให้ชัด มันบาง.. บางเหมือนพยับแดด ก็ต้องรู้ให้ชัดว่า มันเหมือนพยับแดด พยับแดดนี่ถ้าเรามองทั่ว ๆ ไปแบบธรรมดา เราจะไม่ เห็น ถ้าเราใส่ใจแล้วสังเกตดี ๆ เราจะเห็นสภาวะ อารมณ์ หรืออาการของ รูปนาม อาการของลมหายใจ อาการของพองยุบ อาการเกิดดับในร่างกาย ของเรา ถ้าสภาวะเขาละเอียดขึ้น เราก็ต้องมีสติที่ดีขึ้น ตั้งใจมากขึ้น ตรงที่เรา