Page 441 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 441
423
ตั้งใจมากขึ้นในแต่ละขณะที่ตามรู้อาการเกิดดับนั่นแหละ เป็นการเพิ่มสมาธิ ไปในตัว เราไม่วอกแวก จิตไม่ซัดส่ายออกไปหาอารมณ์อื่นที่ไม่ใช่อารมณ์
ปัจจุบัน
ถ้าเรารู้ชัดในปัจจุบัน รู้ชัดอารมณ์ข้างหน้าเรา จิตก็จะไม่ซัดส่ายไปที่
อื่น ถ้าเราเห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาวะที่เกิดอยู่ต่อหน้าเรา ไม่ว่าจะเห็น การเปลยี่ นแปลงของลมหายใจ เหน็ การเปลยี่ นแปลงของความคดิ เหน็ อาการ เปลยี่ นแปลงไปของพองยบุ เหน็ อาการเปลยี่ นแปลงของเวทนา หรอื เหน็ อาการ เปลี่ยนแปลงของสี แสงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นข้างหน้าเรา จิตเราก็จะอยู่กับปัจจุบัน พอใจตามรู้การเกิดดับ มีแล้วหมดไป มีแล้วหายไป
สมมติ ถ้าเป็นแสงสีแดงขึ้นมา เขาหายแบบนี้ แสงสีม่วงขึ้นมา หายแบบนี้ แสงสีเขียวขึ้นมา ดับอย่างนี้ ต่างกันไป ดับเร็วขึ้น ดับช้าลง หรือ ดับแบบกระจายออกไป หรือดับแบบเป็นคลื่น เป็นกระเพื่อม ๆ เป็นคลื่น ไป แต่ละขณะ แต่ละขณะ จะมีความแตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้น เวลาเรากาหนดรู้อาการเกิดดับของอารมณ์ต่าง ๆ จึงต้องมีเจตนาที่จะรู้ถึง “ความแตกต่างของแต่ละขณะ” ด้วยว่า เกิดดับแต่ละขณะนั้นต่างกันอย่างไร การที่เราพิจารณารู้ถึงความแตกต่าง เป็นการใช้ “ธัมมวิจยะ” การสอดส่อง ธรรม
ทาไมถึงต้องรู้ถึงความแตกต่าง ? เพราะว่าการที่เรามีเจตนาที่จะรู้ถึง ความแตกต่าง ๑) เพื่อให้สติเรามีกาลังมากขึ้น ๒) ทาให้ปัญญาเราเพิ่มขึ้น ๓) สมาธิเราก็จะตั้งมั่นขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน เป็น ปัจจัยให้ซึ่งกันและกัน ปัญญาที่จะเข้าไปเห็นสภาวะที่ละเอียดยิ่งขึ้น ที่ต่าง ออกไป ก็จะชัดเจนขึ้นด้วย ถ้าเราดูแค่เฉย ๆ ดูเหมือนเดิม เราไม่พิจารณา รายละเอียด ดูความต่างของเขา สติเราก็จะอยู่เท่าเดิม สมาธิเราอาจจะมาก ขึ้นได้ แต่สติเราอยู่เท่าเดิม ปัญญาในการเห็นอาการเกิดดับก็จะเหมือนเดิม เท่าเดิม ไม่พัฒนา