Page 477 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 477
459
ไปก็มี แต่ส่วนใหญ่พวกเราพุทโธนะ งั้นก็ปฏิบัติต่อนะ เวลาอาจารย์พูด ฟังไปด้วย ปฏิบัติไปด้วย พร้อม ๆ กัน หลังจากอาจารย์พูดจบ อาจารย์ก็ จะถามแล้วว่า ปฏิบัติแล้วเป็นอย่างไร ? ตามดูลมหายใจแล้วเป็นยังไง ? ใครสงสัย อาจารย์ก็ให้ถามเหมือนกัน สงสัยว่าปฏิบัติแล้วเป็นอย่างนี้ ถูก ไหม ? อาการแบบนี้เกิดขึ้น ถูกหรือเปล่า ? ใช่หรือเปล่า ? สงสัยถามได้ เลย จะได้หายข้องใจ
ทีนี้ หลักของวิปัสสนากรรมฐานก็คือ ดูกายในกาย ดูเวทนาในเวทนา ดูจิตใจจิต แล้วก็ดูธรรมในธรรม เขาเรียกว่า “สติปัฏฐาน ๔” ที่เขาบอกไว้ อย่างนี้ เพราะเวลาเรานั่งสมาธิ ไม่ใช่มีแค่ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ใหม่ ๆ เราตามลมหายใจเข้าออกไปเรื่อย ๆ ๆ ทาสบาย ๆ ไม่ต้องบังคับนะ เวลาตาม รู้การเปลี่ยนแปลงของลมหายใจ ไม่ต้องไปบังคับว่า ฉันต้องสงบเดี๋ยวนี้ ฉัน จะต้องไม่คิด อันนั้นไม่ต้องไปบังคับ ให้พอใจที่จะตามรู้แบบสบาย ๆ หายใจ ยาว ก็รู้แบบสบาย ๆ หายใจออกสั้น ก็ให้รู้สึกแบบสบาย ๆ แต่ให้สังเกต การเปลี่ยนแปลงของเขาเท่านั้นเอง อันนี้อย่างหนึ่ง เขาเรียกว่าเป็นอารมณ์ หลัก เป็นที่อาศัยของจิตเรา ให้จิตเราเกาะ ให้จิตเราอยู่กับปัจจุบัน
อีกอย่างหนึ่งก็คือ เวลาเรานั่งกรรมฐานหรือนั่งสมาธิ ก็จะมีความคิด เกดิ ขนึ้ ความคดิ เยอะแยะมากมาย ไมร่ วู้ า่ มาจากไหน เรอื่ งเมอื่ ไหรก่ ไ็ มร่ เู้ ดยี๋ ว มาเต็มไปหมด อันนี้เขาเรียก “ความคิด” เกิดขึ้น ถ้ามีความคิดเกิดขึ้น เรา ทาอย่างไร ? ตามหลักของวิปัสสนา เขาบอกว่า มีความคิดเกิดขึ้น ให้มีสติ เข้าไปรู้ความคิด ไปดูว่าความคิดที่เขาเกิดขึ้นมาแล้วเขาดับยังไง ขึ้นมาแล้ว เขาหายยังไง ความคิดเรื่องนี้เข้ามา หายแบบนี้ เรื่องนี้เข้ามา หายแบบนี้ ไม่ ต้องห้ามเขา เพราะยิ่งห้ามเรายิ่งหงุดหงิด ยิ่งห้ามเรายิ่งราคาญ เพราะเราจะ ห้ามไม่ได้ เมื่อห้ามไม่ได้ เราก็จะราคาญตัวเอง พอราคาญตัวเอง แทนที่จะ สงบ ก็เกิดความวุ่นวาย กลายเป็นว่าไม่สงบไป
เพราะฉะนั้น นี่คืออารมณ์กรรมฐานอย่างหนึ่ง หนึ่งคือ “ลมหายใจ