Page 478 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 478

460
เข้าออก” สองก็คือ “ความคิด” เขาจะเกิดขึ้นแน่นอน บางครั้งพอหลับตาก็คิด มาก่อนเลยก็มี ยังไม่ดูลมหายใจเลย ความคิดก็มาแล้ว ถ้ามาอย่างนั้น ทา อย่างไร ? เราก็รู้ความคิดไปก่อน ไม่ต้องห่วงเรื่องลมหายใจ เอาความคิดนั่น แหละมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน มาเป็นตัวตั้งในการเจริญสติของเรา
การเจริญสติก็คือว่า แค่เรามี “เจตนา” ที่จะไปรู้ว่า ความคิดเกิดขึ้น มาแล้วดับอย่างไร ? ให้พอใจที่จะรู้ สักพักเขาก็จะค่อย ๆ น้อยลง ค่อย ๆ เบาลง ค่อย ๆ สงบลง จิตเราก็จะเย็นลง ต่อไปอาการของลมหายใจเขาก็ จะปรากฏชัดเอง เราก็จะดูลมหายใจได้แล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อมีความคิดเกิด ขึ้น อย่ากลัว อย่ากังวล ไม่ต้องปฏิเสธ แค่ “พอใจ” ที่จะรู้ว่า ความคิดนี้เกิด ขึ้นมาแล้วดับอย่างไร ? พอคิดถึงคน ภาพนี้ขึ้นมา แล้วดับอย่างไร ? คิดถึง สิ่งของ ภาพนี้ขึ้นมา แล้วดับอย่างไร ? ตรงนี้เขาเรียกว่า รู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือที่เรียกว่า รู้อาการเกิดดับของความคิด
อีกอย่างก็คือ “เวทนา” เขาเรียก ความปวด เวลาเรานั่งกรรมฐานไป สักพัก ก็จะมีความปวดเกิดขึ้นตามร่างกาย ปวดที่หัวเข่า ปวดที่หลัง ปวด ที่ไหล่ หรือปวดที่ศีรษะ ปวดที่ไหนก็ตาม เราจัดเป็นเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติของร่างกายของเรา ทุกคนมีเวทนา มีความปวดด้วยกันทั้งสิ้น แต่เมื่อเขาเกิดขึ้นมา สิ่งที่ต้องทาคือ ให้มีสติไปรู้ว่าความปวดที่เกิดขึ้น เขามี ลักษณะอย่างไร ? เขามีอาการอย่างไร ? นิ่ง ๆ หรือเกิดเป็นแท่ง หรือปวด ขึ้น ปวดขึ้น... เดี๋ยวก็ปวด เดี๋ยวหาย เดี๋ยวก็ปวด เดี๋ยวก็หาย... เดี๋ยวหนัก เดี๋ยวเบา... ? ให้สังเกตดูการเปลี่ยนแปลงแบบนั้น เขาเรียก “ดูความไม่เที่ยง ของเวทนา”
เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น เมื่อมีอาการอย่างนั้นเกิดขึ้นมา ก็ให้ไปรู้ว่าเขาเปลี่ยนอย่างไร เกิดดับอย่างไร และอีกอย่างหนึ่ง บางคนหลับตาลงแล้วก็จะมีสี มีแสง เกิด ขึ้นมา มีอาการระยิบระยับบ้าง สว่างบ้าง สลัวบ้าง อันนั้นก็จะเป็นสภาวธรรม


































































































   476   477   478   479   480