Page 480 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 480
462
หนึ่งเท่านั้นเองที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเรา
ถ้าเราสังเกต เราจะเห็นว่าไม่มีใครเลยที่ข้ามพ้นเหตุการณ์เหล่านี้
ไปได้ ทุกคนย่อมประสบพบเจอด้วยกันทั้งสิ้น จะมากจะน้อยต่างกัน เท่านั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของร่างกายหรือของจิตใจ และอาศัยเรื่องที่แตก ต่างกัน บางเรื่องคนนี้ทุกข์ แต่คนนั้นไม่ทุกข์ บางเรื่องคนนี้ไม่ทุกข์ คนนั้น ก็ทุกข์ คนเราก็อาศัยเหตุปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป แต่ที่สุดแล้วคือ “ตั้งอยู่ ในกฎของไตรลักษณ์” เพราะฉะนั้น เมื่อเรารู้ว่าทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยง ตั้ง อยู่ในกฎของไตรลักษณ์ แล้วเราจะทาอย่างไร ?
สิ่งที่เราทาได้คือ พอใจที่จะรู้ ให้ดูจริง ๆ ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัส ว่า มันเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเรา เขาเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นั่นแหละ สิ่งที่เราต้องเข้าไปรู้ ให้เห็นตามความเป็นจริง ให้เราพิสูจน์ด้วยตัวเอง “เห็น ด้วยตัวเอง” ว่าเขาเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ไม่ใช่เชื่อตามเขามา ไม่ใช่เขาว่า ไม่เที่ยงเราก็ไม่เที่ยง เขาว่าเที่ยงเราก็เที่ยง แต่ให้เราไปรู้จริง ๆ ดูไปแบบ สบาย ๆ ไม่ต้องบังคับ
ตัวสาคัญอย่างหนึ่งที่เราตามรู้ลมหายใจ ตามรู้อาการของกายเรา แล้ว ไม่ให้เกิดความอึดอัดก็คือ มีความพอใจ เขาเรียกมี “ตัวฉันทะ” ฉันทะ คือ พอใจที่จะตามดู ไมใช่ต้องชอบที่จะดู แต่พอใจที่จะตามดูเขา จะเป็นยังไง ก็ตาม ฉันพอใจที่จะดู เป็นอย่างนี้ก็ดีแล้ว! แล้วดูไปว่าเขาเปลี่ยนยังไง ? ช้า ก็พอใจจะดู ช้าก็ช้าสิ จะตามดู บางก็จะตามดู สงบก็จะตามดู รู้การเปลี่ยน เขาไป ตามรู้แบบสบาย ๆ ไม่ต้องไปกังวลว่า เมื่อไหร่เขาจะสงบสักทีหนึ่ง! เมื่อไหร่จะเห็นอะไรสักทีหนึ่ง!
เราปฏิบัติธรรม รู้อะไร ? หาอะไร ? การปฏิบัติธรรมเป็นไปเพื่อการ ขัดเกลาจิตของเรา เพราะฉะนั้น เราก็ต้อง “เห็นจิต” เราสิ ว่าทาแล้วจิตใจเรา รู้สึกยังไง ? ทาแล้วใจเรารู้สึกสงบขึ้น นิ่งขึ้น สว่างขึ้น โล่งขึ้น ทาแล้วจิตใจ รู้สึกขุ่นมัว รู้สึกว่ามันหนัก รู้สึกว่าอึดอัด ? ใจเป็นยังไงก็ต้องรู้ ถ้ารู้อย่างนั้น