Page 497 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 497
479
ความไม่มีตัวตนแล้ว ก็รู้สึกว่าไม่มีตัวตนมันสบาย มันโล่งเบานะ แต่ไม่ เข้าใจ “ความหมาย” ของคาว่า “ไม่มีตัวตน ไม่สามารถนาความรู้สึกที่ไม่มีตัว ตนมาใช้งานต่อได้ เพียงแต่มุ่งเพื่อที่จะละความมีตัวตนอย่างเดียว
การทาจิตให้ว่าง คือ ว่างจากตัวตน ว่างจากตัวตนแล้ว ขันธ์ ๕ ก็ ยังดาเนินไปตามปกติ ขันธ์ ๕ ก็ยังมีอยู่ เพียงแต่ไม่มีตัวตน มีแต่สติรับรู้ เพราะฉะนั้น ลองดูสิว่า เมื่อไม่มีตัวตนแล้ว เราไปยึดอะไร ? เราต้องปล่อย วางอะไรไหม ? หรือว่าจิตที่ไม่มีตัวตนนั้นดีอย่างไร ? เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้น ขันธ์ ๕ ก็ยังเป็นไปตามปกติ สิ่งสาคัญก็คือ การปรุงแต่งทางจิตของเรา ที่ ทาให้แสดงออกทางกายทางวาจาเป็นอย่างไร เมื่อไม่มีตัวตน ก็ต้องระวังถึง เจตนา ถึงวาจา ถึงการกระทาของเรา ถึงแม้ไม่มีตัวตนก็ยังต้องระวัง
เป็นเรื่องที่แปลกอย่างหนึ่ง เราปฏิบัติธรรมมากขึ้นก็ต้องระวังมากขึ้น กลายเป็นว่าปฏิบัติธรรมยิ่งมากยิ่งต้องระวัง เพราะอะไร ? เราระวังเพราะ เรา “รู้” ว่าบาปอกุศลที่เกิดขึ้นกับใจของเราบ่อย ๆ จะทาให้เกิดความเคยชิน และติดตัวไป แต่ถ้าไม่มีตัวตน อายุอารมณ์สั้นลง มันก็จะสั้นตาม แต่ที่ต้อง ระวัง เพราะบางครั้งเผลอมีตัวตนเกิดขึ้น เมื่อมีตัวตนเกิดขึ้น อกุศลเกิด รสชาตขิ องอกศุ ลกช็ ดั ขนึ้ มา เมอื่ รสชาตขิ องความเปน็ อกศุ ลปรากฏชดั รสชาติ ของความเป็นอกุศลก็จะเป็นตัวผลักดันให้การกระทาทางกายวาจาของเรานั้น เป็นไปในทางที่ไม่เหมาะไม่ควร
เพราะฉะนั้น ถ้าเรากาหนดรู้อย่างไม่มีตัวตน แล้วเมื่ออารมณ์เข้ามา กระทบ เราจะจบอย่างไร ? จะหยุดอย่างไร ? หยุดตรงที่ว่า “ไม่มีเรา” จบที่ เรา ดับความเป็นเรา ใช้สติกับปัญญาพิจารณาให้มาก มีเจตนาพัฒนาตัวเอง ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ความดีที่มีอยู่แล้วก็ทาให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป อันไหนไม่ดีเรา ก็ค่อย ๆ ละไป อารมณ์ไม่ดีเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่นาน รีบดับ! ถ้าเรามีเจตนา มี เป้าหมายอย่างนี้ การปฏิบัติของเราก็จะเห็นชัดแล้วก็จะดับได้ง่าย พอใจที่จะ ดับ พอใจที่จะหยุด ดับที่ตัวเราดีที่สุด ถ้าละอกุศล เราละที่ตัวเรา ละอกุศล