Page 54 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 54

36
เรื่องการเกิดดับ ในแต่ละอารมณ์ ขณะเดิน นั่ง กรรมฐานด้วยเจ้าค่ะ ควร กาหนดรู้หรือดูอย่างไร ?
พระอาจารย์ : วิธีการกาหนดอาการเกิดดับในขณะเดินหรือนั่ง ที่จริง ก็พูดไปแล้วเมื่อกี้ จริง ๆ คาว่า “อาการเกิดดับ” นี่ บางทีเราไม่เข้าใจ ใช่ ไหม ? บางทีรู้สึก เอ๊ะ! ตรงไหนเรียก “เกิดดับ” ? ที่จริงอาการเกิดดับก็คือ ลักษณะการมีแล้วหมดไป มีแล้วหมด มีแล้วหมด หรือมีแล้วหายไป เพราะ ฉะนั้น เวลาสังเกตอาการเกิดดับในขณะที่เดิน เวลาเราก้าวเท้าเดิน ให้สติเรา หรือจิตของเราเกาะติดไปกับเท้า พร้อมกับสังเกตอาการก้าว
อย่างที่บอกว่าขณะที่ก้าวไป ระหว่างที่เราก้าวเท้าแต่ละครั้ง สังเกต ว่าจุดไหนตาแหน่งไหนที่ “ชัดที่สุด” บางครั้งชัดตอนยก แค่วืดขึ้นมา วืด ขึ้น แล้วก็หยุดไป ตอนก้าวก็ว่าง ๆ ไปเฉย ๆ แล้วตอนกระทบก็จะรู้สึกถึง มีจุดสัมผัส สัมผัสกระทบลงไป ไม่ว่าจะเย็น หรือนุ่มนวล หรือแข็ง ๆ จุดที่ ต้องสังเกตก็คือว่า เรายกขึ้นมาแล้วก็ดับแบบนี้ วึบหายไป พอก้าวไป มันก็ ว่าง ๆ แล้วก็กระทบ...
จุดที่ต้องสังเกตก็คือว่า ถ้ากระทบแล้ว รู้สึกว่ามีอาการหนัก ๆ เรา ก็สังเกตความหนักนั่นแหละ พอเรากระทบปุ๊บ ความหนักนั้นหายยังไง ? กระทบแล้ว ความหนักที่รู้สึกได้ มันหายตอนที่เรายกเท้า หรือนิ่งนิดหนึ่ง ความหนักก็หายไป ? พอยกเท้าขึ้นมาก็เบา สังเกตอาการตรงนั้นได้ นั่นคือ “วิธีสังเกตอาการเกิดดับในขณะเดิน”
และถา้ ใหล้ ะเอยี ดหรอื ดยี งิ่ ขนึ้ “สงั เกตรายละเอยี ด” พดู อยา่ งนไี้ มเ่ หน็ ภาพนะ ลองดู ทบทวนอีกทีหนึ่งนะ ลองดู ยกมือขึ้น สมมติว่ามือนี่คือเท้า ของเรา ขณะที่เราก้าวเท้า ลองดูนะ เลื่อนไปด้านข้าง ไม่ต้องเร็ว ช้า ๆ แล้ว ลองสังเกตว่า ขณะที่ก้าวไป บริเวณที่มือมีอาการอย่างไร ? (โยคีบางคนกราบ เรียนว่า รู้สึกเย็น) คนอื่นอาจจะไม่เย็นนะ แต่ดูว่า “รู้สึก” ยังไง ? เมื่อกี้โยม เขาบอกว่าเย็น สังเกต ความเย็นที่ปรากฏขึ้นมา เขาชัดเท่ากันตลอดไหม ?


































































































   52   53   54   55   56