Page 69 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 69
51
พอห่วงลูก ให้ความสุขใจที่สุดไปคลุมตัวลูกทุกครั้ง แล้วเวลาเจอหน้าเรา เมื่อไหร่ เขาจะรู้สึกอุ่นใจ ความสุขหรือความอ่อนโยนของเราเข้าไปคลุม ตัวเขา หรือรับรู้ผ่านความสุขความอ่อนโยนของเรา พอเราใช้จิตประเภทนี้ บ่อย ๆ ลูกจะรู้สึกถึงความอบอุ่น ความรักที่พ่อแม่มีให้กับลูก ความเคารพ ก็เกิดขึ้น ความเกรงใจเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เวลาเราพูดอะไรก็จะเข้าใจง่ายขึ้น
และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า บางทีเรารู้สึกว่าเราต้องใช้กาลังกับลูก ที่ เขาบอกว่า พอเราใช้ความรุนแรง ลูกก็จะกระด้าง ทาไมจิตเขากระด้างขึ้น ? เพราะเขาต้องป้องกันแรงกระแทกที่เข้ามาที่ใจเขา เขาต้องนิ่ง ต้องแข็ง ต้อง กระด้างขึ้น เพราะฉะนั้น ถ้าเราใช้ความสุขความอ่อนโยน มองผ่านความสุข รับรู้ผ่านความสุขเข้าไป เขาก็จะได้รับถึงความเย็นตรงนี้ด้วย โดยปกติคน เราจะชอบเข้าหาที่เย็น ๆ ใช่ไหม ? ถ้าบรรยากาศตรงไหนเย็น เข้าไปแล้ว อุ่นใจ สบายใจ ไม่ต้องระแวง ไม่ต้องกลัว เขาก็จะเข้าไปตรงนั้นแหละ แต่ ทีนี้พอเข้าบ้านเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้จะเจออะไร ไม่ใช่เฉพาะลูกหรอก เราก็เหมือน กัน ถ้าคนอยู่ในบ้านอารมณ์ไม่ดี จะเข้าดีไม่ดี ? เย็นหรือยัง ? อันนั้นแหละ
เพราะฉะนั้น ความห่วงลูก ห่วงแล้วเราไม่ทุกข์ ไม่ใช่ไม่ให้ห่วง ห่วง แล้วเราต้องเข้าใจ เรามีความสงบเป็นตัวรองรับ แล้วเราก็จะห่วงได้แบบไม่ ทุกข์ คือเรารักษาจิตของเราให้สงบ พอเรามั่นคง เราสงบ หรือจิตเรากว้าง ความทุกข์จะเกิดได้ยาก ห่วงได้ก็จะเกิดแบบสั้น ๆ ห่วงได้ ถ้าจะตัดเลย ใคร ตัดได้ก็เก่งมาก ๆ ถ้าใครตัดได้ ต้องใช้ปัญญาอันแหลมคม พร้อมกับความ เด็ดขาด เขาใช้คาว่า “เด็ดขาด” ไม่ใช่ตัดให้ขาดนะ ต้องเด็ดขาด เพราะฉะนั้น จิตต้องมีกาลัง ยังไงก็ห่วง แต่ขอให้ห่วงแบบมีสติ แล้วเราก็จะไม่ทุกข์
โยคี (๑๒) : กราบนมัสการค่ะพระอาจารย์ คือเวลานั่งสมาธิ แล้ว เรารู้สึกมีเวทนาเกิดขึ้น ปวดมาก เราก็เอาจิตเข้าไปสู้ ไปดูว่าจะเป็นยังไง แต่ ตอนที่ทาอย่างนั้น เราเกิดเห็นจิตอีกดวงหนึ่งเป็นผู้ดูอยู่ อันนี้ ?
พระอาจารย์ : เป็นการแยกระหว่างเวทนากับจิตเรา