Page 68 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 68
50
ก่อนที่การขยับการเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นนั้น เขาเรียกว่า “ต้นจิต” ตัว “จิต” เอง ก็คือตัวที่ทาหน้าที่รู้อาการของต้นจิต ซึ่งอาการต้นจิตก็คือจิตนั่นเอง กลายเป็นว่า “เห็นจิตในจิต” เป็นการดูจิตในจิต ตัวที่ทาหน้าที่รู้ก็คือ “จิต” “ต้นจิต” คือ จิตขณะแรกที่เกิดขึ้น ที่ทาหน้าที่สั่ง แยกกันตรงนั้น
โยคี (๑๑) : กราบท่านอาจารย์เจ้าค่ะ ในชีวิตของเรามักจะมีความ ห่วงความกังวลต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูก จะมีวิธีปล่อยวาง ความห่วงกังวลถึงลูกได้อย่างไรเจ้าคะ ?
พระอาจารย์ : ตอบยากมากเลย เป็นเรื่องที่ยากที่สุดเลยนะ... ห่วงที่ผูกคอคล้องคอเราไว้ ไปไหนก็ไปด้วย เป็นห่วงที่ตัดยากที่สุด ถ้าเป็น ห่วงยาง เราก็ตัดง่าย แต่นี่เป็นห่วงใหญ่ บาง ๆ แต่ตัดยาก เคยเห็นใยแมงมุม ไหม ? มันวิ่งไปไหนก็ไม่ยอมขาด ไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ เพราะฉะนั้น การที่เรา จะตัดความห่วงใยก็จะเป็นเรื่องยากนิดหนึ่ง ห่วงอย่างไรเราถึงจะไม่ทุกข์ ? ถ้าเราห่วงมากก็หนักมาก ถ้าเราเอาห่วงนั้นมาผูกให้แน่น เราก็จะหนักอึดอัด เราก็จะทุกข์ เพราะฉะนั้น ห่วงแบบเบา ๆ เข้าใจไหม ? ห่วงแบบหย่อน ๆ อย่าห่วงแบบตึง
เวลาห่วงลูก ทายังไงถึงจะไม่ทุกข์ ? ที่จริงแล้วนี่ ระหว่างลูกกับ ตัว อันไหนอยู่ใกล้ที่สุด ? ตัว แต่เราก็สามารถแยกจิตเราออกจากตัวได้ ใช่ไหม ? เพราะฉะนั้น ลองดู คิดถึงลูก ลองให้จิตเรากว้างกว่าลูกปุ๊บ รู้สึก เป็นไง ? แยกจิตเรากับลูกออกจากกัน ไม่ใช่ไม่ให้ห่วงนะ แต่ให้จิตเรากว้าง ลองดูสิ มีลูกเกือบทุกคนแล้วนะ นึกถึงลูก แล้วลองดูว่า ให้จิตเรากว้างกว่า ลูก รู้สึกเป็นยังไง ? จิตรู้สึกหนักไหม ? หรือสงบ ? จิตเราห่วงได้ สงบ
การที่ทาจิตของเราให้ว่าง ให้กว้าง แล้วให้สงบตรงนี้ อานิสงส์ที่เกิด ขึ้นคือ สามารถช่วยลูกเราได้ มันจะเป็นเกราะคุ้มครองลูกเรา การที่เอาจิต ที่ว่าง หรือเบา หรือจิตที่มีความสงบ จิตที่มีความสุขไปคลุมตัวลูกนี่ เป็น เกราะคุ้มครองลูกเราไปในตัว และอีกอย่างหนึ่ง ถ้าอยากให้ลูกเรารู้สึกดี ๆ