Page 66 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 66

48
โยคี (๗) : สมมติว่าที่เห็นมันชัดกว่าที่เท้า ก็ไปกาหนดตรงโน้นแทน ได้ไหมคะ ?
พระอาจารย์ : ได้ เพียงแต่ “รู้ชัด” ถ้าชัดปุ๊บนี่ ถ้ามีความต่อเนื่อง เรากาหนดอาการนั้น ถ้าจะกาหนดอาการนั้นต้องยืนแล้ว
โยคี (๘) : กราบนมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ ที่ท่านว่าอายุอารมณ์สั้น ลงเป็นพัฒนาการที่ดี และยกตัวอย่างความโกรธ อันนี้รวมทั้งอาการดีใจหรือ เฉยในการรับรู้ด้วยหรือไม่ ? ถ้าเป็นเรื่องอกุศล จะเช็คอย่างไรว่าไม่ตกค้าง ในใจ กราบขอบพระคุณค่ะ
พระอาจารย์ : รวมทงั้ ดใี จและเสยี ใจ สว่ นความเฉย บางครงั้ นอี่ เุ บกขา จะตั้งนาน เราจะพอใจกับความเฉยมากกว่า เพราะฉะนั้น เมื่อรู้สึกเฉย เรา จะไม่เข้าไปดูว่า ความเฉยเราเปลี่ยนอย่างไร ฉะนั้น จะรู้สึกว่าเหมือนตั้งอยู่ นาน จริง ๆ แล้ว “ทุก ๆ อารมณ์” จากเฉยพอรู้ว่าเฉย เขาเปลี่ยนเป็นเบา ขึ้น ใสขึ้น อันนั้นจะเห็นชัด แล้วจะเช็คได้อย่างไรว่าอกุศลจะไม่ตกค้างอยู่ใน ใจของเรา ? เราก็ดูไปที่ใจของเรานั่นแหละ
ยกตัวอย่าง อกุศลตัวที่ชัดที่สุด เอาเป็น “ความรู้สึกไม่พอใจ” ของเรา มันยังค้างอยู่ในใจเราไหม ลึก ๆ แล้ว ? เราเข้าไปดูในใจลึก ๆ เลย หรือว่า พอยิ่งดูมันยิ่งไม่มีอะไร ตรงนี้จิตเราต้องรู้ เราจะสังเกตได้ ยิ่งรู้เข้าไปยิ่งไม่มี อะไร ยิ่งว่าง ยิ่งดูยิ่งว่าง ยิ่งใส ยิ่งโปร่ง อันนั้นอกุศลก็จะไม่ตกค้าง แต่ถ้า ยิ่งเข้าไปแล้ว จะมีจุด ๆหนึ่งอยู่ เราจะรู้สึกได้ ใช่ไหม ? บางอารมณ์ทุกคน จะรู้สึกได้เลยว่า ฉันไม่โกรธเธอแล้ว แต่ในใจลึก ๆ มันยังมีนิดหนึ่ง นั่นคือ อกุศลตกค้างอยู่ในใจ เรารู้สึกได้ด้วยตัวเอง แต่เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกให้อภัยไป แล้ว มันโล่งไปแล้ว พอไปดูปุ๊บก็จะไม่เหลือเศษอารมณ์ อกุศลที่ค้างอยู่ใน ใจของเราถ้าเป็นที่ละเอียดกว่านั้น เราไม่เคยเห็น เราก็ไม่รู้หรอกว่ามันค้าง อยู่มากน้อยแค่ไหน
โยคี (๘) : แล้วที่ค้างอยู่นิดหนึ่งเจ้าค่ะ จะทายังไงต่อดีเจ้าคะ ?


































































































   64   65   66   67   68