Page 67 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 67
49
พระอาจารย์ : วิธีแก้คือ เข้าไปดูชัด ๆ มันก็หายแล้ว มีสติเข้าไปรู้ ชัด ๆ แล้วเขาก็หายไป จริง ๆ แล้วอยู่ที่ “ความพอใจ” ของเราอย่างหนึ่งนะ อารมณ์ที่ค้างอยู่ในใจเราลึก ๆ เราจะเก็บมันไว้หรือจะดับมัน ? ถ้าเราดับนี่ นิดเดียว! ไม่ต้องใช้กาลังมากเลย แค่สติเราเข้าไปรู้ เขาก็ดับ พอเราพอใจ ที่จะปล่อย แต่ถ้าเราไม่พอใจที่จะดับนี่ ยังไงก็ไม่หาย บางแค่ไหน น้อยแค่ ไหน ก็ยังค้างอยู่นั่นแหละ
ที่เราปฏิบัตินี่ เราต้องการละกิเลส ต้องการดับทุกข์ แต่บางคนพอใจ ที่จะทุกข์ เคยเห็นไหม ? รู้วิธีดับทุกข์แล้วไม่ยอมดับ! อยากจะเก็บเอาไว้ เพื่อความสะใจ ใช่ไหม ? พอรู้สึกสะใจเมื่อไหร่ ก็ อ้ะ! ได้แล้ว! วาง! ถ้า ยังรู้สึกยังไม่สะใจตัวเอง ก็นิดหนึ่ง นิดหนึ่ง สะสมมาจนรู้สึกสะใจแล้วก็ วางเลย ที่จริงแล้ว จิตเราเสวยอารมณ์นั้นจนอิ่มจนเต็ม แล้วถึงวาง เป็น การสั่งสมอย่างหนึ่ง
โยคี (๙) : เมื่อมีอารมณ์ไม่ดีเกิดขึ้น ควรกาหนด เช่น อารมณ์โกรธ อย่างนี้เจ้าค่ะ ควรกาหนดดู หรือว่าขยายอารมณ์ให้ใหญ่ แล้วรอเขาดับ อย่างไหนจะดีกว่ากันเจ้าคะ ?
พระอาจารย์ : วิธีดับที่เร็วที่สุดคือ ขยายให้กว้างออก แล้วเขาจะ ดับเร็วที่สุด ที่ให้ขยายนี่หมายถึงความโกรธเกิดขึ้นจนเต็ม อัดแน่นที่ตัวเรา เราเข้าไปดับเขานี่ ยากมาก ๆ วิธีก็คือ ขยายให้กว้างออก แล้วเขาก็จะว่าง แล้วเขาก็จะหายไป แต่ถ้าเริ่มเกิดขึ้นเป็นจุดนิดหนึ่งขึ้นมา แล้วสติเรามีกาลัง มากกว่า เข้าไปกาหนดดับได้เลย ไม่ต้องขยาย
เจ้าค่ะ โยคี : ก็คือกาหนดดูใช่ไหมเจ้าคะ ? กราบขอบพระคุณพระอาจารย์
โยคี (๑๐) : กราบเรียนพระอาจารย์ค่ะ อยากจะทราบถึงความ หมายและความแตกต่างระหว่างคาว่า “ต้นจิต” กับ “จิต” ค่ะ
พระอาจารย์ : “ต้นจิต” เราหมายเอา “จิตขณะแรก” จิตที่รู้ขณะแรก