Page 87 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 87

69
ไม่สังเกตว่าความเบื่อที่เกิดขึ้นมา เกิดอยู่ที่ไหน ? ความเบื่อที่เกิดขึ้นกับจิตที่ ทาหน้าที่รู้ว่าเบื่อ เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน ? สรุปปึ๊บ “ฉัน” เบื่อ พอฉันเบื่อ มีตัวตนทันที! พอมีตัวตน สติเราก็อ่อน ถ้ารู้สึกเบื่อ ให้ไปรู้เลย ว่าความรู้สึกเบื่อกับจิตที่รู้ว่าเบื่อ เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน ? ตรงนี้ ปัญญาเราก็จะเกิดขึ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่เห็นว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้กับความเบื่อ ที่เกิดขึ้น เป็นคนละส่วนกัน ให้สังเกตในลักษณะอย่างนี้ว่า แล้วจิตที่ ทาหน้าที่รู้ วุ่นวายหรือสงบ ? หรือเห็นว่าความเบื่อนั้นตั้งอยู่ในความสงบ ใน ที่ว่าง ๆ แค่นั้นเอง ?
ถ้าเป็นในลักษณะอย่างนี้ เราก็เข้าไปกาหนดความเบื่อ เอาความ รู้สึกเข้าไปรู้แล้วเขาดับยังไง ? เข้าไปรู้แล้วเขาหายยังไง ? อาจจะไม่ดับทันที ค่อย ๆ จาง ค่อย ๆ บางไป ก็คืออาการเกิดดับของความเบื่อก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ให้สังเกตให้ดี ถ้าบอกว่าอยู่ที่บ้านแล้วเบื่อ ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจจะ ปฏิบัติ แต่ไม่อยากปฏิบัติ จึงต้องพิจารณาดูว่า เป็นความเบื่อจริง ๆ หรือ ความขี้เกียจ ?
ขณะนี้ที่นั่งอยู่ ลองเข้าไปดูสภาพจิต รู้สึกเป็นยังไง ? ไม่ค่อยตื่นนะ ยังตื้อ ๆ ตื้อ ๆ ลองดูสิ ลองขยายให้มันกว้างขึ้น รู้สึกเป็นไง ? ตั้งแต่กลาง วันแล้ว... ไม่ผิดนะ สภาวะเหล่านี้จะเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก การปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าจะเบาโล่งตลอดเวลา ไม่มี! สภาวะเขาเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ก็ตาม ที่นักปฏิบัติรู้สึกว่าต้องการให้โล่งอย่างนี้ตลอด เวลา เข้าใจผิดแล้ว! เวลานั่งกรรมฐาน ต้องสงบ ฉันต้องสงบ! เมื่อไหร่ที่ สงบ แสดงว่าฉันทาได้แล้ว เมื่อไหร่ที่ไม่สงบ โอย! ทาไม่ได้เลย ไม่สงบ สักที เดี๋ยวอันนั้นมาอันนี้มา ตามรู้มันอยู่ตลอดเวลา
ที่จริงการปฏิบัติธรรม ให้เรามีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน ทุก ๆ อารมณ์ที่ เกิดขึ้นมา แล้วเขาดับยังไง ? เพื่ออะไร ? อย่างที่บอกไปแล้ว เพื่อที่เราจะได้ เห็นตามความเป็นจริงของทุกสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เป็นของไม่เที่ยง ตั้งอยู่ในสภาพ


































































































   85   86   87   88   89