Page 88 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 88

70
เดิมไม่ได้ เกิดแล้วดับไป มีแล้วหายไป และไปบังคับเขาไม่ได้ อยากให้เป็น อยู่อย่างนี้ก็ไม่ได้ อยากให้เกิดก็ไม่ได้ พอเกิดแล้วอยากให้หายไป ไม่ถึงเวลา เขาก็ไม่ดับไป ไม่เป็นอย่างที่เราต้องการ
แม้แต่เวทนาที่เกิดขึ้นเวลาเรานั่งสมาธิ เรารู้สึกว่าเวทนาเป็นของเรา ใช่ไหม ? เวทนาของเรา ปวดมาก สั่งให้เขาหาย ไม่ยอมหาย! เป็นของเรา ได้ที่ไหน ? ต้องฝืนสู้ ๆ ๆ กัดฟันสู้ไป เขาก็ไม่ยอมหาย! เพราะไม่ใช่ของเรา แต่ในขณะเดียวกัน เวทนาเขาก็ไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น เราต้องสู้ด้วยปัญญา อย่าใช้กาลัง สู้ด้วยปัญญา ด้วยการพิจารณา เวทนาที่ว่าไม่เที่ยงเป็นยังไง ? จุดไหนบ้างที่เขาไม่เที่ยง ? ตรงไหนไม่เที่ยงก็ไปรู้ตรงนั้นเสีย อย่าไปรู้ตรงที่ เขาตั้งเที่ยง ๆ ๆ เราอยู่เที่ยง ๆ นี่ ร้อน! เมื่อไหร่ที่เห็นการเปลี่ยนแปลง เริ่ม ค่อย ๆ เย็น ค่อย ๆ คลายแล้ว
เพราะฉะนั้น ที่บอกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของ ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือกาย เวทนา จิต ธรรม ตั้งอยู่ในกฎของ ไตรลักษณ์ คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เรารู้ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แต่ ทาไมกิเลสเรายังอยู่ ? เคยสังเกตไหม ? เราก็รู้อยู่แล้วว่า กาย เวทนา จิต ธรรม หรือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง แต่ทาไมเรายัง ยึดอยู่ ? เพราะอะไร ? เพราะ “รู้” แต่ “ไม่เห็น” “รู้” แต่ “เข้าไม่ถึง” แค่รู้ เข้าใจ แต่เข้าไม่ถึง จึงไม่พัฒนาปัญญาตัวเอง
เพราะฉะนั้น การพิจารณาการกาหนดรู้อาการเกิดดับของรูปนาม หรือการเจริญวิปัสสนา จึงให้เน้นการกาหนดรู้อาการเกิดดับ รู้อาการพระ ไตรลักษณ์ของทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจก็ตาม เพื่อให้เราเห็นความเป็นจริงของสภาวธรรมของรูปนามที่เกิด ขึ้นจริง ๆ ที่บอกว่า “เป็นปัจจัตตัง” ใครเห็นคนนั้นก็รู้ ใครไม่เห็นคนนั้น ก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น การรู้แจ้งจึงเป็นการรู้ในสิ่งที่เราเห็น รู้แล้วก็เห็นชัด ๆ เลย


































































































   86   87   88   89   90