Page 92 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 92
74
ประจาวันของเรา เราไม่ได้มานั่งในห้องแบบนี้ ไม่ได้นั่งในห้องพระ เราจะ กาหนดอาการเกิดดับได้ไหม ? ลองสังเกตดูสิ (พระอาจารย์เมตตาเคาะโต๊ะ ๓ ครั้ง) ได้ยินเสียง ใช่ไหม ? เสียงที่ดังเขามีลักษณะยังไง ? (พระอาจารย์ เมตตาเคาะโต๊ะ ๒ ครั้ง) อาการของเสียงเขาดับแบบกระจายหรือแวบหาย ? (โยคีกราบเรียนว่า แวบหาย) ตรงนี้ก็คือ “อาการเกิดดับ”
ลองดูสิ เวลาเราขยับมือ เรารู้สึกได้ ใช่ไหม ? เขามีอาการเป็นคลื่น หรือเป็นเส้นไป ? (โยคีกราบเรียนว่า เป็นเส้น) พอหยุดปุ๊บ เขามีอาการหยุด ไป หายไป นั่นคือ “อาการเกิดดับ” เพราะฉะนั้น เราจะหยิบเร็วแค่ไหนก็ตาม เวลาเราจะหยิบแก้วน้าแบบนี้ พอกระทบปุ๊บ รู้สึกว่ามันมีอาการเย็น แล้วก็ หายยังไง ? ลองเอามือแตะพื้นดูสิ พอแตะปุ๊บ ยกขึ้นมา ความเย็นมันหาย แบบแวบทันที หรือค่อย ๆ หายไป ? เพราะฉะนั้น เรารู้สึกได้ทันที นี่คือการ ปฏิบัติธรรม ทุก ๆ อิริยาบถ เราก็ทาได้ เพียงแต่เรามีเจตนาที่จะรู้เท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้น ที่บอกว่าการเจริญสติ ทั้งต้นจิต อิริยาบถย่อย ก็อาศัย อาการอิริยาบถย่อยในชีวิตประจาวันของเรานั่นแหละ ไม่ต้องไปสร้างอารมณ์ ใหม่ขึ้นมา ให้มีเจตนาที่จะไปรู้อาการในชีวิตประจาวันของเรานั่นแหละ ถ้าเรา ทาได้ จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตเรา ปฏิบัติธรรมไม่ใช่อะไรที่พิสดาร จากชีวิตจริงของเรา เพราะสติเรารู้อยู่กับปัจจุบัน รู้ถึงอาการเกิดดับ รู้ถึงความ ไม่มีตัวตน รู้ถึงจิตว่างจิตเบา อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ที่บอกว่า ในอิริยาบถย่อยเราไม่สามารถกาหนดรู้อาการเกิดดับได้ ที่ จริงอาการเกิดดับ มันเป็นการเกิดดับของหลาย ๆ อารมณ์ ๑) ความคิด ๒) ความไม่สบายใจ เราสามารถเห็นได้ ใช่ไหม ? อย่างที่บอกว่า รู้สึกไม่สบายใจ ขึ้นมา เราก็ดับความไม่สบายใจของเรา การดับทุกข์ เรียกว่าการปฏิบัติธรรม ไหม ? ให้คาจากัดความให้กว้าง ๆ หน่อย แล้วเราจะรู้สึกว่าปฏิบัติธรรมได้ ตลอดเวลา สบาย ๆ เป็นธรรมชาติของชีวิตเรา แต่ต้องทาจริง ๆ นะ ไม่ใช่ ปล่อยสบาย ๆ ก็เรียกว่าปฏิบัติธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมแบบสบาย ๆ แต่ไม่ใช่