Page 99 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 99

81
เราอาศัยอาการเกิดดับที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า ไม่ว่าจะเป็นอาการ ของเวทนา อาการของพองยุบ เป็นอาการของลมหายใจ เป็นอาการของ ความคิด หรืออาการเกิดดับของเสียงที่ปรากฏขึ้นมา ที่จริงก็คือ ทุก ๆ อาการ ที่เกิดขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ เมื่อเรามีเจตนา เข้าไปรู้อาการเกิดดับ ตรงนั้นก็จะเป็น “อารมณ์วิปัสสนา” ทั้งหมด
เพราะฉะนั้น จะเห็นว่าทุก ๆ สภาวะที่เกิดขึ้นมาในชีวิตของเรา ก็จะ เป็นอารมณ์กรรมฐานได้ทั้งสิ้น เพียงแต่เรามีเจตนาเข้าไปรู้ถึงความเป็นจริง ถึงอาการเกิดดับของอารมณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง นั่นคือการเอาอารมณ์ที่อยู่ รอบ ๆ ตัว ที่เกิดทางทวารทั้ง ๖ มาเป็นอารมณ์กรรมฐาน เพราะฉะนั้น อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๖ ไม่ว่าจะเป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้น เพียงแค่มีเจตนาเข้าไปรู้ถึง การ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็จะกลายเป็นอารมณ์กรรมฐานทันที ฉะนั้น ไม่ว่าจะ อยู่ที่ไหน ในอิริยาบถไหน ก็สามารถเจริญกรรมฐานได้ทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น เมื่อมีเจตนาในลักษณะอย่างนี้ เราจะเป็นผู้ที่มีสติ เจริญ กรรมฐานอยู่เนือง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ ความสุข ความสบาย ที่เกิดขึ้น มา เมื่อเรามีสติเข้าไปพิจารณารู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็จะกลายเป็น อารมณ์กรรมฐาน เสียงที่ได้ยิน เสียงที่เคยราคาญ เสียงที่ดัง ถ้าเรามีเจตนา ที่จะไปรู้แค่อาการเกิดดับของเสียง ไม่รู้เรื่องราวของเสียง ไม่ต้องไปสนใจว่า เสียงดังไม่ดัง แต่ไปรู้ว่าเสียงนั้นเกิดดับในลักษณะอย่างไร นั่นคือการเข้าไป รู้อาการพระไตรลักษณ์ของเสียง นั่นคือการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา นั่นคือการ น้อมเอาเสียงมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน
เพราะฉะนั้น ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา ก็สามารถเอามา เป็นอารมณ์กรรมฐานได้ ไม่ว่าจะเป็นความเย็น ความร้อน อาการเคร่งตึง หนัก เบา เมื่อเรามีเจตนาเข้าไปรู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของอารมณ์ นั้น ๆ อารมณ์เหล่านั้นก็เป็นอารมณ์กรรมฐานทันที ความเย็น ร้อน อ่อน


































































































   97   98   99   100   101