Page 98 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 98
80
หรือเปล่า ? ขนาดของอาการเกิดดับกว้างกว่าเดิมหรือเล็กกว่าเดิม ? บางกว่า เดิมหรือแคบกว่าเดิม ? ชัดมากขึ้นหรือชัดน้อยลง ? ตรงนี้ก็คือ “ความ ต่าง” ทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น ในขณะที่เราสังเกตอาการเกิดดับที่ปรากฏอยู่เฉพาะ หน้าเรา หรือที่ตัว บริเวณไหนของร่างกายก็ตาม ให้พิจารณากาหนดรู้ไป แม้แต่อาการเต้นของหัวใจที่เรารู้สึกว่า หัวใจนั้นต้องเต้นเป็นจังหวะ ๆ สม่าเสมอ แต่ถ้าเรามีสติพิจารณาเข้าไป บางครั้งเราจะเห็นว่า อาการเต้นของ หัวใจไม่เหมือนอย่างที่เคย หรือจะต่างออกไป “ต่างอย่างไร ?” ตรงนี้แหละที่ เราต้องพิจารณา เพราะนั่นคืออาการเกิดดับของรูปอย่างหนึ่ง
บางครั้ง ขณะที่เราตามอาการพองยุบอยู่ แต่เหมือนอาการเกิดดับ จะไปปรากฏชัดตรงบริเวณหัวไหล่ จนบางครั้งโยคีรู้สึกว่าอาการพองยุบ ย้ายที่ ย้ายจากที่ท้องไปอยู่ที่อื่น ที่จริงก็คือ อาการเกิดดับของรูปที่เปลี่ยน ตาแหน่งไป อาการเกิดดับที่ปรากฏขึ้นมา ไม่ว่าจะปรากฏที่แขน ที่ไหล่ ที่ หัวใจ ที่ท้อง ที่หน้าผาก ที่หน้า... ไม่ว่าที่ไหนของร่างกายก็ตาม ถ้าเมื่อไหร่ ที่เราเข้าไปรู้แล้ว เห็นเขาเกิดแล้วดับ มีแล้วหมดไป มีแล้วหายไป นั่นคือ อาการเกิดดับของรูปทั้งสิ้น
แต่ถ้าจะเห็นอาการเกิดดับของนามหรือของจิตที่ไปรู้ด้วย จิตจะต้อง ไปอยู่ที่เดียวกับอาการ พร้อมกับสังเกตว่าจิตอยู่ที่เดียวกับอาการ และให้ เห็นว่า จิตกับอาการ เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือเป็นคนละส่วนกัน ? อยู่ที่ เดียวกันได้ แต่ถ้าสติเราดี ก็จะเห็นเป็น “คนละส่วน” ตรงนั้นแหละถึงจะ เห็นอาการเกิดดับของจิตชัด เมื่ออาการนั้นดับ จิตดับด้วยหรือไม่ ? ตรงนั้น จะชัด แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่จิตไปอยู่ที่อาการ แล้วแยกไม่ชัดว่าจิตกับอาการ เป็น ส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน เราก็จะเห็นแต่อาการดับของรูปมากกว่า หรือ เห็นอาการเกิดดับของอาการมากกว่าจิต เพราะฉะนั้น การที่จะเห็นได้ จิตเรา จะต้องนิ่ง และสังเกตให้ดี นี่คือการพิจารณาอาการเกิดดับ