Page 97 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 97

79
แล้วพิจารณาอาการที่เกิดขึ้น ทาใจให้ว่างให้เบา แล้วให้ใจที่เบาที่ว่างคลุมตัว หรือถ้าใจที่เบาที่ว่างกว้างแล้ว ก็ให้กว้างเต็มห้องไปเลย ไม่ต้องแค่คลุมตัว ให้กว้างเท่าห้องนี้ไปเลย จนเรารู้สึกว่านั่งอยู่ในที่ว่าง ๆ และเพื่อให้เวทนา เกิดช้า ลองเอาจิตที่ว่าง ๆ เบา ๆ ไปรองรับจุดกระทบที่เรานั่งด้วย รองรับ ระหว่างตัวกับพื้น แล้วให้นั่งอยู่ในที่ว่าง ๆ เบา ๆ
เวลาเรากาหนดสภาวะ ไม่ต้องไปเกร็ง ไม่ต้องบังคับ ให้มี “ความ พอใจ” ที่จะพิจารณาอาการที่เกิดขึ้นอยู่เฉพาะหน้าของเรา ไม่ว่าจะเป็นอาการ ของพองยุบ หรืออาการเกิดดับที่เป็นสีเป็นแสงที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า ก็ให้มี สติตามรู้อาการนั้นไป ถ้ามีอาการของลมหายใจปรากฏชัดขึ้นมา ก็ให้มีสติ ตามรู้อาการของลมหายใจ ให้มีเจตนาที่จะรู้ว่าอาการเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมา เขามีการเกิดดับและเปลี่ยนไปในลักษณะอย่างไร ? อาการเกิดดับของเขา ต่างจากเดิมอย่างไร ?
การที่เราจะเห็นชัดถึงความเปลี่ยนแปลงว่าจะต่างจากเดิมอย่างไร สติหรือจิตจะต้องอยู่ที่เดียวกับอาการ หรือเข้าไปให้ถึงอาการ แล้วสังเกต อาการ เขาเรียกว่า “ธัมมวิจยะ” การสอดส่องธรรม มีจิตมุ่งเข้าไปที่อาการ แล้วสังเกตว่า อาการเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับในลักษณะ อย่างไร ? ลักษณะของอาการเกิดดับที่ปรากฏขึ้น ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงใน ลกั ษณะอยา่ งไร กไ็ มผ่ ดิ ! เพยี งแตว่ า่ ใหม้ คี วามพอใจสงั เกตตอ่ ไปวา่ ขณะนเี้ ปน็ แบบนี้ ยิ่งดูไป ดูไป เขาเปลี่ยนไป ต่างจากเดิมไปเรื่อย ๆ ๆ หรือสักพักก็ ย้อนกลับมาเหมือนเดิมอีก ถึงแม้จะย้อนกลับมาเหมือนเดิม ก็ไม่ผิด เมื่อมัน ชัดขึ้นมาในลักษณะเดิมอีก ก็ให้มีสติเข้าไปรู้ต่อไป
ตรงที่เรารู้สึกว่าย้อนกลับมาเหมือนเดิม ความต่างก็คือว่า บางครั้ง “จังหวะ” ของอาการเกิดดับ เรารู้สึกเหมือนเดิม มีจังหวะเท่าเดิม “ช่องว่าง ระหว่างอาการเกิดดับ” เท่าเดิม แต่ถ้าสังเกตดี ๆ ก็จะเห็น “ความต่าง” ใน ตัว ถึงแม้จะจังหวะเท่าเดิม “ความชัด” เท่าเดิมหรือเปล่า ? “ขนาด” เท่าเดิม


































































































   95   96   97   98   99