Page 11 - ต้นจิตและอริยาบทย่อย
P. 11

สังเกตแบบนี้ แต่ไม่ใช่ว่าไปหาอาการกะพริบตาอย่างเดียว นี่คือยกตัวอย่าง ในอิริยาบถย่อยให้รู้อาการตามปกติ จะหยิบ จะจับ จะเคลื่อนไหว ก็ตาม ให้สังเกตอาการที่เกิดขึ้น ทีนี้พอมีบรรยากาศรองรับแบบนี้ ยกตัวอย่าง เวลาล้างจาน มีบรรยากาศที่ว่าง เรายืนอยู่ในความว่าง มีความว่างรองรับ เวลาเคลื่อนมือ จิตที่ว่างไปอยู่ที่อาการเคลื่อนไหวอีกทีหนึ่ง แต่บรรยากาศที่ว่างที่รองรับไม่ต้องหดเข้ามา ให้ว่างออกรองรับรูปอยู่ แต่เวลาขยับเคลื่อนไหว เอาความรู้สึกที่ว่างเบาหรือสงบไปที่อาการ พร้อมกับ สังเกตอาการเคลื่อนไหว เคลื่อนไป ๆ เขามีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างไร อันนี้คือสังเกตอาการเคลื่อน เหมือนเวลาเราล้างจาน กวาดไปแต่ละขณะ ๆ เช็ดไปแล้วเขาดับอย่างไร เคลื่อนไปดับอย่างไร
อาการอื่น อย่างเช่น เราสระผม เวลาเราเกาหรือน้ากระทบตัว สังเกต กระทบที่จุดกระทบแล้วเขาดับอย่างไร เวลาเราเคลื่อนไหว เกาไป เกาถูกศีรษะไหม หรือเกาถูกความว่างอย่างเดียว ? บางทีสระผม จับ ไม่ถูกผม จับถูกความว่าง ดูอีกทีผมหายหมด เหมือนผมร่วงเลยนะ แต่ จริง ๆ แล้วคือ จับถูกความว่าง รู้แต่อาการ ไม่มีรูปร่างของเส้นผม มีแต่ อาการเคลื่อนไหวเกิด-ดับ เกิด-ดับ... แล้วน้าที่กระทบรูป ไม่มีรูป ไม่มีตัว มีแต่จุดกระทบของน้า กระทบ-กระจาย กระทบ-กระเด็นกระจาย... เวลา เราลูบแขน สังเกตอาการ เขามีอาการพรืด...หาย พรืด...หาย ก็กลายเป็น อาการเกิดดับ กาหนดรู้อาการเกิดดับนี้ไป แล้วขณะที่สังเกตแบบนี้ นี่คือ เป็นอารมณ์บัญญัติ คือเป็นอาการกระทบกาย รูปกระทบกับรูป แต่ถ้าจิตเรา ไปรู้อาการวึบ...ดับ จิตดับวึบไป ๆ กลายเป็นการกาหนดอาการเกิดดับ ของอิริยาบถย่อยไปในตัว ความต่อเนื่องของอารมณ์เหล่านี้ สามารถ เจาะสภาวะเห็นอาการเกิดดับ เห็นอาการพระไตรลักษณ์ได้ อันนี้คือเวลา
5
































































































   9   10   11   12   13