Page 24 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การปรับอินทรีย์
P. 24

276
บางทีแค่นั่งหลับตาลง ความคิดมาก่อนแล้ว เรายังไม่สงบเลย เราจะนิ่งได้อย่างไร กลายเป็นการ กระวนกระวายหาวิธี หาวิธีที่จะนิ่ง ที่จะหยุดความคิด วิธีง่าย ๆ คือแค่ตั้งใจแล้วสังเกต ภาษาเรานะ ภาษา เราก็คือตั้งใจแล้วสังเกต ตั้งใจนิ่ง ใส่ใจเป็นขณะ ตรงที่เรานิ่งเป็นครั้ง ๆ เขาเรียกขณิกสมาธิ เพราะเป็นการ เพิ่มสมาธิ เรานิ่ง...สังเกตดูทุกครั้ง พอเรานิ่งปุ๊บ...นิดหนึ่ง รู้สึกเป็นอย่างไร สงบ ตั้งมั่นขึ้น ตรงนี้แหละคือ การเพิ่มสมาธิ ถ้าใครนิ่งไม่เป็น เอาแบบกว้าง ๆ นะ ลองกลั้นหายใจนิดหนึ่ง รู้สึกเป็นอย่างไร จิตเขานิ่งขึ้น ไหม กลั้นหายใจนิดหนึ่ง แล้ว...กลั้นหายใจแล้วดูเฉย ๆ กลั้นหายใจแล้วนิ่งเฉย ๆ พอสุดปึ๊บ!ก็ปล่อยลม ออกไป ไม่ต้องกลั้นหายใจจนแทบขาดใจ เดี๋ยวไม่สงบอีกแหละ กลั้นหายใจนิดหนึ่งแล้วรู้สึกนิ่ง สังเกตดู นะว่าเวลาเราทาอะไร พอเรานิ่งมาก ๆ ขึ้นเหมือนลมหายใจเขาจะหายไป
แต่ถ้าเราสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ นี่นะ ที่พูดถึงตอนนี้ยังเป็นเบื้องต้นอยู่ ที่เราต้องนิ่ง สังเกตแบบนี้เป็นระยะ ๆ แล้วพอใจที่จะรู้ความคิดของตนเอง อ่า! เรียกว่าของตนเองอีกแล้ว เมื่อกี้นี้บอก ไมใ่ ชข่ องตนเอง ความคดิ กบั จติ ทรี่ เู้ ปน็ คนละสว่ นกนั ฟงั ใหด้ นี ะ สลบั กนั ...ระหวา่ งสภาวะทเี่ ปน็ สภาวธรรม จริง ๆ ที่เป็นปรมัตถ์ของเขา กับบัญญัติ สมมติว่าเป็นของเรา เพราะเรามักเรียกว่าเรากาลังคิด ความคิด เป็นของเรา พอเราเป็นอย่างนั้นปุ๊บ ทุกครั้ง...ถ้าเกิดอย่างนั้นเมื่อไรจิตใจเราจะไม่มั่นคง มันจะกระสับ กระส่ายวุ่นวาย แต่ถ้านิ่งแล้วเป็นผู้ดูความคิด เขาจะแยกเลย จิตกับความเรื่องที่คิดแยกส่วนกัน ตรงนี้ จะได้ประโยชน์อย่างมากกับชีวิตเรา เพราะเมื่อไหร่ที่เรามีความคิด มีเรื่องที่ต้องคิดเกิดขึ้น แล้วเราคิด อย่างสงบ ตรงนั้นจะมีสติ จิตที่บอกว่าเมื่อไหร่ที่เราสงบ แยกส่วนกับเรื่องราวปึ๊บ จิตเขาจะเป็นระเบียบ เขาเป็นผู้ดู เขาจะเห็นชัดว่าอะไรอยู่ตรงไหน จะได้ประโยชน์ในชีวิตของเรา อันนี้ต้องนาไปใช้
เป็นเรื่องปกติของชีวิตของเรา แต่ถ้าเมื่อไรเวลาเรานั่งกรรมฐานนี่นะ ความคิดมาปุ๊บให้นิ่ง ตั้งใจ ที่จะกาหนดรู้ความคิด เหมือนอย่างที่บอกตั้งแต่แรกแล้วว่า พอเรานั่งกรรมฐานปึ๊บ แทนที่เราจะเริ่มจาก ลมหายใจอยู่เรื่อย ๆ นี่นะ บางทีเขาเริ่มจากความคิด อารมณ์หลักอารมณ์ในเบื้องต้นนี่นะ ไม่ใช่เริ่มจาก ลมหายใจเสมอไป พอหลบั ตาพอเรมิ่ นงั่ ความคดิ กม็ า ตรงนแี้ หละ ใหต้ งั้ ใจและสงั เกต พอใจทจี่ ะรคู้ วามคดิ เกิดแล้วดับ ๆ พอมันเริ่มเพลินไป กลับมานิ่งใหม่ รู้ไป ๒ - ๓ อึดใจมันเพลินไป มันหลุดไป กลับมานิ่งใหม่ ตั้งสติใหม่ ใช้คาว่าตั้งสติใหม่ อันนี้คือเราจะรู้ว่า พอตั้งใจหรือตั้งสติใหม่ แล้วก็สังเกตใหม่ เริ่มใหม่ ๆ ๆ นิ่งใหม่เป็นขณะ ๆ ตรงนี้แหละที่เขาบอกขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะหนึ่งสั้น ๆ
แต่ถ้าทาซ้า ๆ เปรียบเทียบเหมือนน้าที่หยดลงในโอ่ง ถึงแม้ทีละเม็ด ๆ ๆ แต่โอ่งไม่รั่วเดี๋ยวเขา ก็เต็ม สมาธิก็เต็ม จิตของเราก็เหมือนกัน ถ้าเรานิ่ง ๆ ๆ แล้วเราไม่ปล่อยปละละเลยไม่ได้สนใจเขานี่นะ เดี๋ยวพลังเขาก็จะมากขึ้น จะตั้งมั่นขึ้นสงบขึ้น แต่ที่เราแยกรูปนาม เราทาจิตให้ว่างได้แล้วเหมือนเมื่อกี้น้ี ที่บอกพอนิ่งปึ๊บพลังเต็มเลย นิ่งปึ๊บมันแน่นขึ้นมา นิ่ง...แน่นแล้วเต็มความรู้สึก มีความมั่นคงเกิดขึ้นเลย นั่นเป็นเพราะอะไร นี่คือนิ่งแค่นิดเดียว พลังก็เต็มได้แล้ว เพราะจิตเราว่าง ภาชนะเรามีกาลัง ภาชนะจิตที่ ว่างนี่นะ พื้นฐานหรือสมาธิดีนี่นะ พอนิ่งปึ๊บพลังของสมาธิก็เต็มขึ้นมา ขณะที่สมาธิจิตเรามีกาลังเต็มขึ้นมา ไม่ใช่แค่มีสมาธิอย่างเดียว ไม่ใช่สงบอย่างเดียว สิ่งที่ตามมาด้วยคือตัวสติ


































































































   22   23   24   25   26