Page 22 - มิติธรรม
P. 22
16
เมื่อวางตําแหนงของความรูสึกใหเหลื่อมรูปกาย ความเหลื่อม นั้นแมจะมีเพียงเล็กนอยก็ตาม ความเปนตัวตนจะไมเกิดขึ้น สวนจะชัดเจนหรือไมขึ้นอยูกับความใสของสติวามีมากหรือนอย ในความเหลื่อมแมจะไมมีชองวาง ก็บอกไดวาเปนคนละสวนเพราะ มีขนาดไมเทากัน บางครั้งใจล้ําไปขางหนา บางครั้งใจถอยไปขางหลัง ขึ้นอยูกับเจตนาของสติวาตองการใหอยูหนาหรือหลัง เพื่ออะไร ?
ตองการใหรูปกายสวนใดเคลื่อนไหว ก็จะบรรจุความตื่นตัวลง ไปพรอมกับสั่ง สวนนั้นจะเคลื่อนไหวไดดั่งใจ เมื่อตองการใหใบหนา แสดงอาการอยางไร ใจจะตองมีความรูสึกอยางนั้นกอน จากนั้นก็จะ ซอนความรูสึกนั้นลงไป ใบหนาจะแสดงตามความรูสึกของใจในขณะนั้น ทันที ตองการใหใบหนาระบายดวยความสุข ใจจะตองเกิดความรูสึก อิ่มและสุขกอน เมื่อใจเกิดความรูสึกอยากยิ้ม และอยากสื่อใหคูสนทนา เห็น ก็จะเอาความรูสึกอิ่มและสุขนั้นซอนลงบนใบหนา เพียงเทานี้คู สนทนาก็จะไดเห็นรอยยิ้มนั้น ซึ่งเปนรอยยิ้มที่เกิดจากความรูสึกอยาง แทจริง จะยิ้มมากหรือนอยขึ้นอยูกับกําลังของความสุข ความอิ่มใจ ตองการใหใบหนาอยูในอาการสงบ ก็จะเอาความรูสึกสงบซอนเขาไป ใบหนาจะคอย ๆ เปลี่ยนเปนสงบ เมื่อเกิดความรูสึกอยากหยิบยื่น สิ่งของใหผูอื่น จะเอาความรูสึกตื่นตัวซอนไปที่รูปมือพรอมกับสั่ง เมื่อเหตุปจจัยพรอมอาการหยิบยื่นก็เกิดขึ้น
เมื่ออยากใหรูปกายอยูในอาการสํารวม ใจจะตองเกิดความ รูสึกสํารวมกอน รูปกายจึงจะสํารวมได ใจจะตองเขาถึงความรูสึกนั้น กอนพรอมกับสั่ง การแสดงออกของใจนั้นเปนนามธรรมไมใชรูปธรรม นามธรรมที่ปรากฏนั้นเปนนามธรรมของความรูสึก ถาหากนามธรรม ขณะนั้นมีกําลังมาก สามารถแปรกายใหเปนไปตามนามธรรมได