Page 99 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การพิจารณาสภาวธรรม
P. 99

407
ทีนี้ จุดที่สังเกตก็คือว่า ถ้าให้จิตทะลุผ่านทุกอย่างในการรับรู้ ทะลุผนัง ทะลุห้อง ทะลุวัตถุ มอง ตรงไหนก็โล่งไป เหมือนเราดูที่ตัว ตัวก็เบาไปว่างไป แขนหายไป ตัวหายไป ผนังก็เป็นรูป ความคิดหรือ มโนภาพที่เกิดขึ้นมาก็เป็นรูป ลองมองให้ทะลุภาพนั้นไป ทาให้จิตใจรู้สึกอย่างไร ? ถ้ามองผ่านทะลุได้ ให้ความรู้สึกเบา รู้สึกโล่ง ไม่มีอะไรกดทับ ไม่มีอะไรบีบคั้น เหลือแต่เรื่องเหลือแต่เหตุการณ์ แล้วก็แยก ส่วนกัน ถ้าเป็นอย่างนี้ ลองสังเกตว่า จิตที่ว่างจิตที่เบา ๆ กับกายที่นั่งอยู่ อันไหนมีกาลังมากกว่ากัน ? จิต ที่เบาจิตที่โล่ง ๆ กับความคิด อันไหนมีกาลังมากกว่ากัน ? แล้วถามตัวเองดูว่า จิตที่ว่างเบาสามารถทะลุ อะไรต่าง ๆ ได้ ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ดีอย่างไร ? แล้วทาอย่างไรจิตที่โล่งว่างถึงจะมีกาลังมากขึ้น ?
ถ้าอยากให้มีกาลังมากขึ้น ก็ต้องใส่ใจ ตั้งใจที่จะดูให้มากขึ้น อย่างที่ถามเมื่อกี้ว่า ขณะที่จิตโล่งว่าง กว้างกว่ารูป “จิตที่โล่งว่าง”กับ “รูป” อันไหนมีกาลังมากกว่ากัน ? เราก็จะตอบตัวเองได้ว่าอันไหนมีกาลัง มากกว่า ใช้บ่อย ๆ ก็จะมีกาลังมากขึ้น จุดที่มีกาลังมากขึ้นก็คือตัวสติ พอสติมีกาลังมากขึ้น ก็เห็นชัดขึ้น พอเห็นชัดขึ้น จิตก็ตั้งมั่นขึ้น กลายเป็นทั้งสติ-สมาธิ-ปัญญาก็มีกาลังมากขึ้นตาม การพิจารณาแบบนี้ เรียกว่าพิจารณาด้วยความรู้สึกที่เป็นอนัตตา เอาความว่างจากตัวตนมาเป็นที่ตั้งในการรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเรา เพื่อที่จะไม่ถูกกดทับ ไม่ถูกครอบงา ไม่ต้องแบกอารมณ์เหล่านั้น มีความคิด ขึ้นมา ก็มองให้ทะลุไปว่างไป เหลือแต่เรื่องราวที่ว่าง ๆ เบา ๆ จิตมีกาลังมากกว่าอารมณ์เหล่านั้น... เอามา ใช้ประโยชน์!
ทีนี้ ลองกลับมาดูที่รูปอีก พอ(จิต)กว้างออกไป ก็กลับมาดูข้างในบริเวณหทัยวัตถุอีกว่ามีกาลัง มากขึ้นแค่ไหน เพราะอะไรเรา(จึงต้อง)กลับมาดูเป็นระยะ ? เพราะบริเวณหทัยวัตถุเป็นจุดที่ทาให้เรา รู้ชัดว่าพลังมีความหนาแน่นมากขึ้นแค่ไหน มีความใสแค่ไหน มีความสว่างมากขึ้น มีความสงบมากขึ้น แค่ไหน การที่มาดูบริเวณหทัยวัตถุหรือบริเวณหัวใจของเรา เวลาเราเผลอ เราลืม ไม่ได้ดูบรรยากาศ ไม่ได้ดูสภาพจิตโดยรวม ไม่ได้ดูกว้าง ๆ หรือว่าบรรยากาศข้างนอกหายไป พอกลับมาดูที่ใจดูข้างใน ก็จะทาให้ยกจิตได้ง่ายขึ้น ทาให้จิตกว้างได้ง่ายขึ้น ถึงข้างนอกลดลงแต่ข้างในบริเวณหทัยวัตถุบริเวณ หวั ใจเรา เรายงั รสู้ กึ ไดถ้ งึ ความสงบ ความวา่ ง ความเบา ความสขุ อยู่ กจ็ ะยกจติ ขนึ้ สคู่ วามวา่ งไดง้ า่ ย (ทา จติ ) ให้กว้างได้ง่ายขึ้น
เมื่อกี้พูดถึงความว่างความเบา ทีนี้มาดูบริเวณหัวใจของเรา บริเวณหทัยวัตถุ ความโล่งความเบา มีความหนาแน่นอยู่หรือความหนาแน่นลดลง ? ถ้าตอนนี้ความหนาแน่นเริ่มน้อยลง ก็ลองดู ให้รู้สึกเบา ๆ แล้วเพิ่มความนิ่มนวล ถ้าใครรู้สึกหนาแน่นอยู่ มีความหนักแน่นมีความตั้งมั่นอยู่ ลองเพิ่มความนิ่มนวล ความละเอียดอ่อน เติมเข้าไปบริเวณหัวใจบริเวณหทัยวัตถุ เติมเข้าไปที่ความหนาแน่นความหนักแน่น เพิ่มความนิ่มนวลเข้าไปให้เต็ม... ทาไมถึงเป็นความนิ่มนวล ? เพราะความนิ่มนวลความละเอียดอ่อนจะ แทรกซึมเข้าไปในความหนักแน่นความหนาแน่นนั้นได้ เพราะฉะนั้น เติมเข้าไปให้เต็ม ให้ความหนาแน่นมี ความนิ่มนวลเข้าไป แล้วลองดูว่า จิตใจรู้สึกเป็นอย่างไร ?


































































































   97   98   99   100   101