Page 46 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การเล่าสภาวะ
P. 46

798
อย่างเช่นเวทนาที่เกิดขึ้นมานี่นะ ไม่ใช่แค่แยกส่วนกับเวทนาอย่างเดียว เห็นชัดแล้วเวทนาแยก ส่วนแล้ว ต่อไปคือเวทนาเกิดดับในลักษณะอย่างไร เวทนาเกิดดับในลักษณะอย่างไร ตอนที่แยกส่วน เวทนา มีการเคลื่อนไปเคลื่อนมา แต่พอนิ่งตามรู้ไปอีก อาการเคลื่อนไปเคลื่อนมา จากที่เคลื่อน เคลื่อน แล้วแว็บหาย เคลื่อนแล้วหยุดแล้วหาย หยุดแล้วหาย นิ่ง!สติยิ่งตื่นตัวตั้งมั่นขึ้นอีก อาการเวทนาเกิดดับ ในเวทนานั้งแว็บ ๆ ๆ อันนี้คือเห็นอย่างไรเล่าอย่างนั้น
บางครั้งเวทนาเป็นก้อนอยู่นี่นะ ไม่มีการเคลื่อนที่เลย เป็นก้อนนิ่งแล้วสังเกตขอบ ๆ เวทนา แต่ ขอบ ๆ เหมือนมีอาการพลิ้ว ๆ ๆ เหมือนประกาย เขาเรียกเหมือนพยับปริ๊บ ๆ ๆ นิดหนึ่ง ๆ แต่ตรงกลาง นี้แน่นมากเลยไม่มีอาการขยับ ตรงไหนที่บอกความไม่เที่ยง คืออาการไม่เที่ยงของเวทนาคือขอบ ๆ เพราะ ฉะนั้นสิ่งที่เราต้องกาหนด ก็คือกาหนดรู้อาการขอบ ๆ นั้น พอไปกาหนดที่ขอบที่มันกะพริบ ๆ เคลื่อนไหว นิดหนึ่ง ๆ ดูไปอาการทั้งหมดเริ่มขยับ เวทนาเริ่มเคลื่อนแว็บหาย ปื๊บ ๆ ๆ แล้วก็เปลี่ยนไป เห็นอย่างไร เล่าอย่างนั้น นี่คือความต่างของเวทนา
เพราะฉะนั้นความหลากหลายของสภาวะ...เกิดซ้า แต่ความต่างต้องใส่ใจ จึงบอกเสมอว่าให้สังเกต ดูนะ พอเพิ่มความนิ่งขึ้น สภาวธรรมเขาเปลี่ยนอย่างไร เราเคยดูอะไรอยู่ เรากาหนดอาการอะไรอยู่ พอ เพิ่มความนิ่งปุ๊บ อาการเกิดดับของอารมณ์นั้นต่างไปอย่างไร นั่นคือสิ่งที่ต้องเล่า เล่าแค่นั้น เปลี่ยนไปแล้ว สภาพจิตดีขึ้นหรือแย่ลง สังเกตไหมว่า ไม่ได้ถามว่าสติดีขึ้นไหม สมาธิดีขึ้นไหม ทาไมถามสภาพจิตเปลี่ยน ไปอย่างไร จิตมีความรู้สึกตื่นตัว ตั้งมั่น ผ่องใส มีความสงบ นั่นคือเขาบอกในตัวแล้ว สมาธิหรือสติเป็น อย่างไร อันนั้นเข้าใจได้ เพราะฉะนั้น สภาวธรรมที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวบอก
เพราะฉะนั้นพอบอกให้เพิ่มสมาธิ เราก็จะถามว่าจะเพิ่มอย่างไร ถ้าเพิ่มความนิ่ง จับที่ความรู้สึกที่ ตั้งมั่น แล้วเพิ่มความนิ่ง สมาธิเกิดขึ้นในตัวโดยปริยาย รู้สึกได้ทันที อันนี้คือลักษณะของสภาวะที่เกิดขึ้น ลักษณะของสภาพจิตเรา จริง ๆ แล้ว น่าจะละเอียดกว่านี้นะ แต่ยังนึกไม่ออก นี่คือวิธีการเล่าสภาวะ
ทีนี้ถ้าเราเปลี่ยนแล้ว เวลาเล่าสภาวะ พอเรากาหนดเวทนาแบบนี้ได้ แต่พอมีความคิดเกิดขึ้นมา ต้องรู้นะว่าเวลามีความคิดเกิดขึ้นมา ต้องรู้ว่าเราไปกาหนดความคิด มีเจตนาที่จะไปรู้อาการเกิดดับของ ความคิดหรือเปล่า บางทีไม่มีเจตนาที่จะรู้ว่าอาการเกิดดับของความคิด แต่ตามรู้ความคิด นิดหนึ่ง...มันมี ความแตกต่างกันอยู่ตรงไหน คือตามรู้ว่ากาลังคิดอะไร คิดเรื่องอะไร แล้วก็ตามไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวคิดเรื่อง โน้น เรื่องนี้ นี่คืออยากรู้ว่าคิดเรื่องอะไร ไปไกลแค่ไหน อันนี้คือเจตนา อันนี้อย่างหนึ่งนะ กับเจตนาที่จะรู้ ว่าความคิดที่เกิดขึ้น เรื่องที่กาลังคิด คิดขึ้นมาแล้วดับอย่างไร คิดแล้วดับอย่างไร
เหน็ ไหม! ลองดนู ะ...เจตนาเรามคี วามแตกตา่ งกนั ในการกา หนดรู้ บางครงั้ ไมม่ เี จตนาทจี่ ะรอู้ าการ เกดิ ดบั เรากเ็ ลยรสู้ กึ วา่ ความคดิ ...มนั กไ็ ปตามรคู้ วามคดิ ความคดิ กพ็ าไปเรอื่ ย ๆ ๆ ๆ จากเรอื่ งหนงึ่ ไปอกี เรื่องหนึ่ง สลับไปเรื่อย ๆ ยาวไป เพราะอะไร เราไม่มีเจตนาก็เลยคิดว่า ถามว่าความคิดดับอย่างไร ความ คิดไม่ดับสักทีหนึ่ง ไปเรื่อย พอถามปุ๊บนี่นะ พอถามว่าความคิดดับอย่างไร ก็ยังไม่เข้าใจว่า อ๋อ! ที่ผ่านมา เราไม่เห็นดับ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจดูอาการดับ เพราะไม่ได้ใส่ใจอาการเกิดดับของตัวความคิด เรารู้แต่ว่า


































































































   44   45   46   47   48