Page 4 - ST.LOUIS-G
P. 4

ผลงานการดำเนินงาน สถานศึกษา ที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best  Practices)

                                                 ด้านการบริหารจัดการศึกษา
                                                 ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔


                ประเภท      ✓  ผู้บริหาร     ครูผู้สอน

                ๑.  ชื่อผลงาน   การบริหารโรงเรียนเซนต์หลุยส์ศึกษา  โดยกระบวนการ “ST. LOUIS - G”


                ๒.  ชื่อผู้นำเสนอผลงาน  :  นางสาวพรนภา   ปรัชญาคุณ

                     ตำแหน่ง     ผู้บริหารสถานศึกษา     โรงเรียน   เซนต์หลุยส์ศึกษา

                     สังกัด   สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน  แขวง  ยานนาวา    เขต  สาทร
                     จังหวัด   กรุงเทพมหานคร   เว็บไซต์โรงเรียน   www.sls.ac.th


                ๓.  ความสำคัญของนวัตกรรม
                       การบริหารจัดการสถานศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์นี้จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้บริหารมืออาชีพที่มีวิสัยทัศน์

                ความรู้ ความสามารถ คุณธรรม และมีหัวใจรักและศรัทธาในอาชีพ เพื่อที่จะดำเนินการ อันจะทำให้เกิดการ
                จัดการการศึกษาใหม่อย่างสร้างสรรค์และมีคุณภาพโดยการหารูปแบบการบริหาร และการจัดการศึกษาที่

                เหมาะสมกับบริบทและสภาพปัญหาของประเทศอย่างแท้จริงโดยต้องยึดหลักการว่า หัวใจแห่งการบริหาร
                จัดการสถานศึกษาคือการที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถสร้างผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อตอบสนอง

                ความจำเป็นของสังคมได้อย่างเหมาะสม และต้องสามารถบริหารจัดการสถานศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้

                อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดการการศึกษาในทุกด้าน  (ไพฑูรย์
                สินลารัตน์ และคณะ, ๒๕๖๐: ๑๑ – ๑๒)  อุดมการณ์ของการจัดการศึกษา คือ การจัดให้มีการศึกษาตลอด

                ชีวิตซึ่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อการปรับตัวให้อยู่ใน

                ท้องถิ่น ประเทศชาติ อาเซียน และระดับโลก การเรียนรู้ตลอดชีวิตรวมถึงการแสวงหาความรู้ ความใฝ่เรียนรู้
                การรู้เรา รู้เขา เข้าใจผู้อื่น รวมทั้งเข้าใจโลกกว้าง โดยมีรากฐานของ ๔ เสาหลัก แห่งการเรียนรู้ (Four Pillar

                of  Learning) ได้แก่ การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน (Learning to Live Together) การเรียนรู้ที่จะรู้ (Learning

                to Know) การเรียนรู้ที่จะปฏิบัติได้ (Learning to Do)  และการเรียนรู้ที่จะอยู่ได้ (Learning to Be)
                ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายการเรียนรู้ตลอดชีวิตไว้ว่า เป็นกระบวนการ

                การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นโดยตัวบุคคล อันเป็นผลมาจากการได้รับความรู้ หรือประสบการณ์จากการจัด
                การศึกษา หรือกิจกรรมในชีวิตที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา

                ตลอดชีวิตที่เป็นกระบวนการผสมผสานการศึกษา  ทุกรูปแบบ ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ

                และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์ เวลา และสถานที่อย่าง
                ต่อเนื่องตลอดชีวิตตามความต้องการ และมีความสุข เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน

                และสังคม การศึกษาที่สร้างคุณภาพชีวิตและสังคมบูรณาการอย่างสมดุลระหว่างปัญญาธรรม คุณธรรมและ
                วัฒนธรรม อันเป็นการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคนไทยทั้งปวง โดยมุ่งสร้างพื้นฐานที่ดีในวัยเด็ก ปลูกฝังความเป็น

                สมาชิกที่ดีของสังคมตั้งแต่วัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อ  การทำงานที่มี

                คุณภาพ (พิมพันธ์ เดชะคุปต์, ๒๕๕๘: ๔)
   1   2   3   4   5   6   7   8   9