Page 5 - ST.LOUIS-G
P. 5
ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคลากร วิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา ซึ่งในยุค
โลกาภิวัตน์นั้นการบริหารภารกิจใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะต้องอาศัยผู้บริหารมืออาชีพจึงจะทำให้การ
ดำเนินการเป็นไปด้วยดีและบรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ ธีระ รุญเจริญ (๒๕๕๓: ๗) กล่าวว่า การบริหารจัด
การศึกษามีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินการที่จะทำให้การศึกษาบรรลุเป้าหมาย
และวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ เนื่องจากวิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพขั้นสูงวิชาชีพหนึ่ง ซึ่งผู้บริหาร
สถานศึกษาจะต้องมีความเป็นมืออาชีพในฐานะเป็นบุคลากรหลักที่สำคัญของสถานศึกษา และเป็นผู้นำทาง
วิชาชีพที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถและคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนจรรยาบรรณวิชาชีพที่ดีที่จะนำ
สถานศึกษาไปสู่การจัดสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
โรงเรียนเซนต์หลุยส์ศึกษาเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา
เอกชน จัดการเรียนการสอนระดับชั้นเตรียมอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เป็นโรงเรียนคาทอลิก
ศาสนาคริสต์ มีคณะกรรมการบริหารโรงเรียน มีการจัดโครงสร้างการบริหารเป็น ๗ ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร
จัดการ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ ฝ่ายจิตตา
ภิบาล และฝ่ายมาตรฐานคุณภาพ มีคณะกรรมการร่วม ๔ ฝ่าย เพื่อให้โรงเรียนมีการพัฒนาคุณภาพ
โดยการขับเคลื่อนทั้งระบบในการผลักดันให้การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบรรลุเป้าหมายมาตรฐาน
การศึกษา โดยใช้การบริหารคุณภาพแบบวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) การบริหารแบบองค์รวม (Total
Quality Management) : TQM การพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ หลักการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
(Active Learning) ในการสอนและมุ่งส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ โดย
มีเป้าหมายให้เด็กมีความพร้อมตามมาตรฐานการศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจึงตกลงร่วมกันกำหนดเป็น
นโยบายสำคัญ ในการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในการกำหนดรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบบริหารจัดการ ครู และนักเรียน การบริหารคุณภาพ
โรงเรียนเซนต์หลุยส์ศึกษา โดยกระบวนการ “ST. LOUIS – G”
แนวคิดหรือทฤษฎี
๑. ระบบวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (Deming Cycle)
๒. ระบบการบริหารคุณภาพแบบองค์รวม (Total Quality Management)
๓. การพัฒนา ส่งเสริม ติดตาม (improve)
๔. หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)
๔. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๑. เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพตามมาตรฐานการศึกษา
๒. เพื่อส่งเสริมให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เป็นเลิศ
๓. เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมกับสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียน