Page 19 - การพัฒนามาตรฐานคุณภาพโคขุน
P. 19
13
เป็นโคที่มีเชื้อสายโคอินเดียเช่นเดียวกับโคบราห์มัน แต่ปรับปรุงพันธุ์ที่ประเทศ
บราซิลสีมีตั้งแต่สีขาวจนถึงสีเทาเกือบดํา สีแดง แดงเรื่อๆ หรือแดงจุดขาว หน้าผาก
โหนกกว้างค่อนข้างยาว หูมีขนาดกว้างปานกลางและห้อยยาวมาก ปลายใบหูมักจะบิด
เขาแข็งแรงมักจะเอนไปด้านหลัง หนอกมีขนาดใหญ่ ผิวหนังและเหนียงหย่อนยานมาก
เป็นโคที่มีขนาดใหญ่และค่อนข้างสูง
***เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 900-1,200 กก. เพศเมีย 600 - 700 กก.***
ข้อดี
- เป็นโคทนร้อน ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศบ้านเราได้
- ทนต่อโรคและแมลง
ข้อเสีย
- ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงเป็นโคเนื้อที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นโคขนาด
ใหญ่ สร้างกล้ามเนื้อช้า ผู้เลี้ยงโคขุนจึงไม่นิยมนําไปเลี้ยงขุน อาจเป็นเพราะในบ้านเราใน
อดีตนิยม
เลี้ยงตัวที่มีลักษณะสวยงาม เช่น หูยาว หน้าผากโหนกกว้าง แทนที่จะเลือกโคที่โตเร็ว การ
ส่งเสริม
ให้เลี้ยงโคพันธุ์นี้มากขึ้นจะเป็นการทําลายเศรษฐกิจของประเทศ เพราะจะไปแย่ง
ทรัพยากรที่ควรใช้
ในการเลี้ยงโคพันธุ์อื่นที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่าการเลี้ยงต้องเอาใจใส่ดูแล
พอสมควร
ไม่เหมาะที่จะนําไปปล่อยเลี้ยงในป่ าหรือปล่อยทุ่งโดยไม่ดูแลเอาใจใส่