Page 13 - ประเมิน
P. 13

งานตามข้อตกลงให้คณะกรรมการดาเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงานจริง สภาพการจัดการ เรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการพัฒนางานตามข้อตกลงเป็น สาคัญ โดยไม่เน้นการประเมินจากเอกสาร
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนของผู้จัดทาข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดารงตาแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และ การ พัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาการอ่านจับใจความ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึก เสริมทักษะ
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน
ทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนเป็นทักษะที่สาคัญของการใช้ภาษาสามารถนามาประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจาวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทักษะที่สาคัญที่สุดในการเรียนรู้และการถ่ายทอดทางภาษาคือทักษะ การอ่านและการเขียน เพราะการอ่านเป็นเครื่องมือสาคัญที่ใช้ในการเสาะแสวงหาความรู้ และใช้วิธีการอ่าน ที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับผู้อ่านทุกคน การรู้จักฝึกฝนอย่างสม่าเสมอจะช่วยให้ผู้อ่านมีพื้นฐานในการอ่านที่ดี ทั้งจะช่วยให้เกิดความชานาญและมีความรู้กว้างขวางด้วยการอ่านจึงเป็นหัวใจสาคัญของการเรียนการสอนซึ่งเป็น เครื่องมือในการแสวงหาความรู้สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ ดังนั้นการที่นักเรียนจะเป็นผู้อ่านที่ดี จึงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ครูเป็นผู้จัดเตรียมให้ อีกทั้งยังต้องผสมผสานกับความสนใจของผู้อ่านเพื่อเป็นแรงจูงใจ ที่จะช่วยให้นักเรียนได้อ่านอย่างสม่าเสมอ
ผู้จัดทาข้อตกลง ซึ่งเป็นครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้วิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน ภาษาไทยจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในปีการศึกษา 2564 ระดับรายวิชา ระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับสถานศึกษาและระดับชาติ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในรายวิชาภาษาไทย สาระที่ 1 เป็นสาระการอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 คือ ผู้เรียนสามารถใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนาไปใช้ ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดาเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน ภาพรวมอยู่ในระดับที่ต่ากว่าเกณฑ์
ดังนั้นเพื่อให้การเรียนการสอนด้านการอ่านในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคุณภาพตรงตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและหลักสูตร สถานศึกษา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาผู้นักเรียน ผู้จัดทาข้อตกลงจึงขอเสนอประเด็น ท้าทาย เรื่อง การพัฒนาการอ่านจับใจความ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เพื่อใช้ใน การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนและบรรลุตัวชี้วัดในการเรียน
2. วิธีการดาเนินการให้บรรลุ
2.1 วิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเสริมซ้ายวิทยา ฉบับ ปรับปรุงพุทธศักราช 2563
13
























































































   11   12   13   14   15