Page 101 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 101
2.2 วิธีการตรวจวัดสภาพอากาศ
2.2.1 กําหนดตําแหน่งตรวจวัดให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติงาน
2.2.2 ใช้เครื่องมือตรวจสอบปริมาณแก๊สไปตรวจวัดตามจุดที่กําหนด
2.2.3 บันทึกข้อมูลที่ตรวจวัดได้นํามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน
2.3 ชนิดของแก๊สที่ตรวจวัด โดยทั่วไปชนิดของแก๊สที่จะตรวจวัดขึ้นอยู่กับพื้นที่อับอากาศที่ปฏิบัติงาน
นั้นๆ ซึ่งแต่ละแห่งจะแตกต่างกันออกไปแต่แก๊สที่ตรวจสอบอย่างน้อย 4 ชนิด ดังนี้
2.3.1 แก๊สออกซิเจน (O2) หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ปริมาตร/ปริมาตร
2.3.2 แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) หน่วยเป็น ppm.
2.3.3 แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) หน่วยเป็น ppm.
2.3.4 แก๊สติดไฟได้ (Combustible gas) หน่วยเป็น % LEL
3. ค่ามาตรฐาน
3.1 ข้อกําหนดของประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องความปลอดภัยในการทํางานใน
พื้นที่อับอากาศ กําหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
3.1.1 ออกซิเจนไม่ตํ่ากว่า 18 % (V/V)
3.1.2 ไฮโดรเจนซัลไฟด์ 50 ppm. ในเวลา 10 นาที
3.1.3 แก๊สที่ติดไฟได้ต้องมีความเข้มข้นได้ไม่เกิน 20% ของค่า LEL ของแต่ละชนิด
3.2 มาตรฐานอื่นๆ
4. ในการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดจากข้อมูลข้างต้น
สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ สมมติให้ค่าแก๊สต่าง ๆ ที่วัดได้เป็นดังนี้
- ออกซิเจน ตํ่าสุด 20.6 % (V/V) สูงสุด 20.9 % (V/V)
- คาร์บอนมอนนอกไซด์ ตํ่าสุด 0 ppm. สูงสุด 6 ppm.
- แก๊สที่ติดไฟได้ ตํ่าสุด 0 % LEL สูงสุด 0 % LEL
- ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ตํ่าสุด 0 ppm. สูงสุด 0 % LEL
4.1 ออกซิเจน 20.6-20.9 % (V/V) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (19.5-23.5 % (V/V)