Page 99 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 99

การจราจรหนาแน่น นอกจากนี้ยังมาจากอีกหลายแหล่งกําเนิด เช่น กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

               การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ยานพาหนะ หรือการเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้

               ป่า เป็นต้น เมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางปอดแล้วจะแทรกซึมเข้าไปกับระบบไหลเวียนของเลือด ทําให้การ

               ทํางานของต่อมและเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลงสําหรับคนที่เป็น


               โรคหัวใจ เมื่อสัมผัสคาร์บอน-มอนนอกไซด์เข้าไปมักจะเกิดผลรุนแรง ส่วนคนปกติทั่วไจะเกิดผลต่างกันขึ้นอยู่

               กับสุขภาพของแต่ละบุคคลได้แก่ ความสามารถในการมองเห็นความสามารถในการทํางานลดลง ทําให้เฉื่อยชา

               ไม่กระฉับกระเฉง การเรียนรู้แย่ และไม่สามารถทํางานสลับซับซ้อนได้

                              1.3.1 ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulphide) ไม่มีสี มีกลิ่นเหมือนไข่เน่า ละลายได้ในนํ้า แก๊ส

               โซลีน แอลกอฮอล์ เกิดจากการทําปฏิกิริยาของซัลไฟด์ของเหล็กกับกรดซัลฟูริคหรือกรดไฮโดรคลอริค หรือเกิด

               จากการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ที่มีซัลเฟอร์ เป็นองค์ประกอบผลผลิตจากอุตสาหกรรมอื่นๆทเช่น ปิโตรเลียม

               ยางสังเคราะห์ โรงงานนํ้าตาล เป็นต้น เนื่องจากไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นแก๊สติดไฟได้ เมื่อติดไฟแล้วจะให้เปลว

               ไฟสีนํ้าเงินและเกิดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมา การสัมผัสไฮโดรเจน-ซัลไฟด์เพียงเล็กน้อยทําให้เกิดการ

               ระคายเคืองต่อดวงตาและปอด หากสูดดมเข้าไปมากๆ อาจจะมีผลทําให้เสียชีวิตได้

                              1.3.3 ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogendioxide) เป็นแก๊สสีนํ้าตาลอ่อน อาจเป็นส่วนประกอบ

               สําคัญ อย่างหนึ่งของหมอกที่ปกคลุมอยู่ตามเมืองทั่วไป ไนโตรเจนไดออกไซด์เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ไม่


               สมบูรณ์ หากสูดดมเข้าไปจะทําให้ปอดระคายเคือง และภูมิต้านทานการติดเชื้อของระบบหายใจลดลงเช่น

               ไข้หวัดใหญ่ การสัมผัสสารในระยะสั้นๆ ยังปรากฏผลไม่แน่ชัด แต่หากสัมผัสบ่อยครั้งอาจจะเกิดผลเฉียบพลัน

               ได้

                              1.4 ประสิทธิภาพของการมองเห็นลดลงเนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอหรือฝุ่นละออง

                              1.5 เสียงดัง

                              1.6 อุณหภูมิสูง

                              1.7 การหนีออกจากพื้นที่เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินมีอุปสรรค


               2.   การตรวจวัดความปลอดภัยในพื้นที่อับอากาศ

                       เนื่องด้วยปัจจัยอันตรายจากการทํางานในพื้นที่อับอากาศส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับปริมาณอากาศหรือแก๊ส

               ในบริเวณนั้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน นอกเหนือจากการจัดการความปลอดภัยด้านอื่นๆ แล้ว การ
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104