Page 95 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 95
หากผู้ป่วยเป็นลม ตัวซีด หรือมีอาการช็อค ควรวางตัวผู้ป่วยลง โดยให้ศีรษะอยู่ตํ่ากว่าลําตัว ยกขาผู้ป่วย
ขึ้น และห่มด้วยผ้าห่มควรอยู่ดูแลผู้ป่วยจนกว่ารถของโรงพยาบาลจะมารับตัวไปรักษา
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ถูกไฟฟ้าแรงสูงช็อตนั้นถือเป็นกรณีที่ร้ายแรง ผู้ที่จะเข้าช่วยเหลือควรอยู่ให้ห่างจากผู้ถูกไฟช็อ
ตอย่างน้อย 6 เมตร จนกว่าแหล่งพลังงานจะถูกตัดกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าช่วยเหลือควรปฏิบัติตัว ดังนี้
ไม่ควรสัมผัสผู้ป่วยที่กําลังถูกไฟช็อตด้วยมือเปล่า
ไม่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยพลการ
ไม่ควรประคบนํ้าแข็ง ทาขี้ผึ้ง ทายา พันผ้าขนหนู หรือติดพลาสเตอร์ยาให้แก่ผู้ที่มีแผลไหม้
ไม่ควรลอกเซลล์ผิวที่ตายแล้ว หรือเจาะถุงนํ้าบนผิวผู้ป่วยที่เกิดแผลไหม้
ทั้งนี้ การรักษาผู้ถูกไฟช็อตจะแตกต่างกันไปตามกรณีของผู้ป่วย ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง
ของบาดแผล โดยวิธีรักษาอาการบาดเจ็บจากการถูกไฟช็อตลักษณะต่าง ๆ มีดังนี้
การรักษาแผลไหม้จากการถูกไฟช็อต
ผู้ที่มีแผลไหม้เพียงเล็กน้อยอาจได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะสําหรับทาเฉพาะที่และปิดแผลให้
เรียบร้อย
ผู้ที่มีแผลไหม้รุนแรงอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด หรือนําผิวหนังจากอวัยวะส่วนอื่นมาปะผิวหนังส่วน
ที่เป็นแผลไหม้แทน
ผู้ที่เกิดแผลไหม้อย่างรุนแรงตรงแขน ขา หรือมือ จําเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อนํากล้ามเนื้อส่วนที่
เสียหายออกไป หรือตัดอวัยวะส่วนที่เกิดแผลไหม้รุนแรง
การรักษาบาดแผลอื่น ๆ
ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ดวงตา จะได้รับการตรวจและรักษาบาดแผลโดยจักษุแพทย์
ผู้ที่กระดูกหักจําเป็นต้องได้รับการดามหรือผ่าตัดเชื่อมกระดูก
ผู้ถูกไฟช็อตที่ได้รับบาดเจ็บตรงอวัยวะภายในจําเป็นต้องรับการติดตามเพื่อสังเกตอาการจากแพทย์
หรือเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะดังกล่าว
ภาวะแทรกซ้อนจากไฟช็อต
ผู้ที่ถูกไฟช็อตจะเกิดแผลไหม้หรือได้รับบาดเจ็บที่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สัญญาณชีพทํางาน
ผิดปกติหรือถึงขั้นช็อคหมดสติ ทั้งนี้ ผู้ที่ถูกไฟช็อตสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้