Page 93 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 93

ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่ได้รับบาดเจ็บหลังถูกไฟช็อตควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาเช่นกัน เนื่องจากอาการหรือ

               ภาวะแทรกซ้อนจากการถูกไฟช็อตอาจไม่ปรากฏออกมาชัดเจน การเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลหลังถูกไฟช็อ

               ตจะช่วยตรวจหาความผิดปกติ และสามารถเข้ารับการรักษาให้หายเป็นปกติได้

                       2.2 สาเหตุไฟช็อต


                       วัยรุ่นและผู้ใหญ่มักได้รับบาดเจ็บจากการถูกไฟช็อตด้วยกําลังไฟฟ้าสูง ซึ่งจะถูกไฟช็อตขณะที่กําลัง

               ตรวจวงจรไฟฟ้าหรือทํางานอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ทําให้ถูกไฟช็อต ได้แก่ ชนิดของ

               กระแสไฟฟ้า (กระแสไฟฟ้าสลับ หรือกระแสไฟฟ้าตรง) ปริมาณโวลต์ไฟฟ้า (โวลต์ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงาน

               ไฟฟ้าทั้งหมด และปริมาณโวลต์ไฟฟ้าที่วิ่งเข้าร่างกาย) และวิถีที่กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ร่างกาย ไฟฟ้าที่มีกําลังตํ่า

               หรือไม่ถึง 500 โวลต์มักจะไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรง ส่วนผู้ที่ถูกช็อตด้วยไฟฟ้ากําลังสูงหรือมากกว่า

               500 โวลต์ อาจได้รับอันตรายร้ายแรง ทั้งนี้ เด็กเล็กมักไม่ได้รับบาดเจ็บจากไฟช็อตอย่างรุนแรง เนื่องจากเด็กจะ

               ถูกไฟช็อตที่มีกําลังประมาณ 110 - 220 โวลต์ สาเหตุที่ทําให้เกิดไฟช็อตเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้

                         สัมผัสอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรงบริเวณที่กระแสไฟฟ้าวิ่งอยู่ ส่วนเด็กเล็กเกิดจากการกัดสายไฟ

               หรือเอาเหล็กแหย่เต้าเสียบปลั๊กไฟ


                         อุปกรณ์ไฟฟ้าโดนนํ้าหรือเปียกนํ้า

                         เครื่องไฟฟ้าทํางานผิดปกติ หรือเกิดความขัดข้องเสียหายขึ้นมา

                         ระบบไฟฟ้าเสื่อมสภาพ


                         เกิดประกายไฟหรือไฟฟ้ารั่ว

                         หากถูกฟ้าผ่า ก็อาจได้รับบาดเจ็บเหมือนถูกไฟช็อตได้

                         การวินิจฉัยไฟช็อต

                       ผู้ที่ถูกไฟช็อตควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษา ทั้งนี้ บางรายอาจไม่ปรากฏอาการหรือบาดแผล

               ที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกไฟช็อตอย่างชัดเจน เนื่องจากผู้ถูกไฟช็อตอาจได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ หัวใจ สมอง

               กระดูก หรืออวัยวะส่วนอื่น อย่างไรก็ตาม แพทย์จะตรวจผู้ถูกไฟช็อตหลายอย่างเพื่อวินิจฉัยอาการบาดเจ็บที่เกิด

               จากไฟฟ้าช็อต และอาจตรวจเพิ่มเติม ซึ่งขึ้นอยู่กับประวัติการรักษาและผลการตรวจร่างกาย  การตรวจเพิ่มเติมที่


               ใช้ตรวจเพื่อวินิจฉัยไฟช็อต เช่น
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98