Page 96 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 96

  ประสบภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เกิดอาการชัก สูญเสียความทรงจํา หมดสติ กลืนอาหาร

               ลําบาก รวมทั้งประสบภาวะสูญเสียประสาทสั่งการ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นทันที


                         ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง

                         สมองขาดเลือดเฉียบพลัน

                         เกิดการบาดเจ็บที่เส้นประสาทส่วนปลาย ซึ่งมักเกิดขึ้นตรงเนื้อเยื่ออ่อนที่ได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้อาการ

               บาดเจ็บเส้นประสาทส่วนปลายอาจปรากฏออกมาหรือไม่ปรากฏออกมาก็ได้ ซึ่งแพทย์จะติดตามการรักษาใน

               กรณีที่ไม่ปรากฏออกมาอย่างชัดเจน

                         ไตวายเฉียบพลัน


                         เกิดก้อนลิ่มเลือดในหลอดเลือดที่อยู่บริเวณรอบ ๆ เนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหาย

                         อวัยวะภายในอาจทะลุ เนื่องจากเยื่อบุของอวัยวะภายในได้รับความเสียหาย เช่น เยื่อหุ้มปอดทะลุ

               โดยอาจเกิดภาวะดังกล่าวหลังจากถูกไฟช็อตมาแล้ว 2 วัน

                         เด็กเล็กอายุตํ่ากว่า 4 ขวบ ที่ถูกไฟช็อตจากการกัดสายไฟ จะเกิดแผลไหม้ที่ปาก อาจส่งผลให้

               ใบหน้าผิดรูปและมีปัญหาเกี่ยวกับการงอกของฟันและขากรรไกร


                         เกิดต้อกระจกได้ ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากนั้นนานหลายวันหรือหลายปี

                         ได้รับผลกระทบหรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต

                         ทั้งนี้ สตรีมีครรภ์ที่ถูกไฟช็อตเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้ โดย

               กระแสไฟฟ้ากําลังตํ่าที่ช็อตสตรีมีครรภ์อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกได้อย่างรุนแรง เนื่องจากผิวหนังของ

               ทารกในครรภ์บอบบางกว่าผิวหนังคนทั่วไปถึง 200 เท่า ทั้งนี้ หากวิถีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมดลูก ทารกก็เสี่ยง

               ได้รับบาดเจ็บจากการถูกไฟช็อต ส่งผลให้ทารกในครรภ์เติบโตช้า ประสบภาวะนํ้าครํ่าน้อย เคลื่อนไหวน้อยลง


               และเกิดการแท้งได้

                       2.3    การป้องกันไฟช็อต

                       ไฟช็อตเป็นสภาวการณ์ที่หลีกเลี่ยงและป้องกันได้ วิธีป้องกันตนเองและบุคคลรอบข้างไม่ให้ถูกไฟช็อต

               ปฏิบัติได้ ดังนี้
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101