Page 127 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 127

  ใช้ผ้าพันแผล หรือผ้าสะอาดกดแผลไว้ให้แน่น 15 นาที อย่าหยุดกดจนกว่าจะครบเวลา หากเลือด

               ซึมผ่านผ้า ให้ใช้ผ้าสะอาดผืนใหม่แปะแล้วกดต่อ
                         ในกรณีที่บาดแผลค่อนข้างสาหัสและเลือดยังไม่ยอมหยุดไหล ให้กดแผลต่อไปเรื่อย ๆ ระหว่างรอ

               ความช่วยเหลือ พยายามให้แผลสะอาดและหลีกเลี่ยงไม่ให้บาดเจ็บซํ้าอีก

                         ในกรณีที่บาดแผลไม่ร้ายแรง หลังจากกดแผลไว้แล้ว 15 นาที เลือดมักจะหยุดไหลได้เอง หรืออาจ
               ไหลซึมอยู่บ้างประมาณ 45 นาที

                         หากผู้ช่วยเหลือสังเกตพบว่ามีอาการแตกร้าวของกระโหลก ให้ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด

               ปราศจากเชื้อโรค โดยห้ามออกแรงกดห้ามเลือดโดยตรง หรือหลีกเลี่ยงแตะต้องเศษเนื้อตายที่บริเวณบาดแผล

                         บาดแผลที่มีอาการบวม บรรเทาลงได้ด้วยการประคบนํ้าแข็ง
                         เฝ้าสังเกตอาการหมดสติ หรือช็อก

                       2.3    เป็นลม

                              อาการเป็นลมเกิดขึ้นจากภาวะเลือดเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทําให้ผู้ป่วยหมดสติชั่วคราว การ

               ปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเป็นลมอาจทําได้ดังนี้
                         ในกรณีที่ตัวเรามีอาการเป็นลมซึ่งอาจสังเกตได้จากอาการที่เกิดฉับพลัน เช่น รู้สึกหน้ามืด ตาพร่า

               ลาย หรือเวียนศีรษะ ให้รีบล้มตัวนอนหรือนั่งพัก โดยขณะมีอาการให้นั่งในท่าโน้มศีรษะลงมาอยู่ระหว่างเข่า

               พร้อมกับหายใจเข้าลึกเต็มปอด หากรู้สึกดีขึ้นจึงค่อย ๆ ลุกขึ้น ทั้งนี้ผู้ป่วยไม่ควรรีบลุกขึ้นเร็วจนเกินไปเนื่องจาก
               อาจเป็นลมซํ้าได้

                         ในกรณีที่พบผู้ป่วยเป็นลม ควรช่วยจัดท่าทางให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ และยกขาขึ้นให้อยู่เหนือ

               ระดับหัวใจ (ประมาณ 30 เซนติเมตร) เพื่อให้โลหิตไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงสมองได้ง่ายขึ้น รวมทั้งปลดเข็มขัด
               ปกคอเสื้อ หรือเสื้อผ้าส่วนอื่น ๆ ที่รัดแน่น เพื่อช่วยลดโอกาสเป็นลมซํ้า หากผู้ป่วยฟื้นขึ้น อย่าเพิ่งให้ลุกขึ้นเร็ว

               จนเกินไป และให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานแพทย์หรือกู้ชีพ

                         สังเกตดูว่าผู้ป่วยอาเจียน และหายใจได้สะดวกดีหรือไม่
                         สังเกตการไหลเวียนโลหิต ซึ่งดูได้จากการหายใจ อาการไอ หรือการเคลื่อนไหว หากพบความ

               ผิดปกติว่าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือ แล้วทํา CPR (การปั๊มหัวใจ)ไปเรื่อย ๆ จนกว่าผู้ป่วย

               จะมีสัญญาณชีพจรและกลับมาหายใจได้อีกครั้ง หรือเมื่อความช่วยเหลือมาถึง

                         ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นลมล้มลงจนได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นบาดแผลฟกชํ้า หรือแผลที่มีเลือดออก
               ให้ดูแลบาดแผลและกดแผลห้ามเลือด
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132