Page 130 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 130
ผู้ช่วยเหลือไม่ควรพยายามกําจัดนํ้าในตัวผู้ป่วยออกด้วยวิธีการอุ้มพาดบ่าแล้วกระทุ้งเอานํ้าออก
เพราะนํ้าที่ไหลออกจากการกระทุ้งนั้นอาจไม่ใช่นํ้าที่ค้างในปอด แต่อาจเป็นนํ้าจากกระเพาะอาหาร ซึ่งการ
ปฏิบัติดังกล่าวก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยตามมาได้
2.7 อาการสําลัก
การสําลักเกิดจากสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดค้างอยู่ในลําคอหรือกีดขวางหลอดลม สังเกตเห็นได้จาก
อาการบางอย่าง เช่น เล็บ ริมฝีปาก และผิวหนังของผู้ป่วยคลํ้าหรือเปลี่ยนเป็นสีเขียว พูดไม่มีเสียงหายใจลําบาก
หายใจเสียงดัง ไม่สามารถไอแรง ๆ หรือหมดสติ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นควรทําโดยทันที เนื่องจากการสําลัก
จะทําให้สมองขาดออกซิเจน โดยปฏิบัติดังนี้
ตบหลัง 5 ครั้ง ระหว่างกระดูกสะบักของผู้ป่วยด้วยส้นมือ โดยผู้ช่วยเหลือควรเรียนเทคนิคการตบ
หลังก่อนการช่วยเหลือ ไม่เช่นนั้นให้ใช้วิธีการกดกระแทกที่ท้องแทน หรือจะทํา 2 วิธีสลับกันก็ได้
กดกระแทกที่ท้อง (Abdominal Thrusts) 5 ครั้ง ควรทําก่อนการขอความช่วยเหลือ โดยให้ยืนข้าง
หลัง เอาแขนรัดรอบเอว แล้วโน้มตัวผู้ป่วยไปด้านหน้าเล็กน้อย กําหมัดแล้ววางไว้ตรงสะดือของผู้ป่วย จากนั้น
ใช้มืออีกข้างจับที่หมัด แล้วกดลงแรงและเร็วที่ท้องของผู้ป่วย ให้เหมือนกับกําลังพยายามยกตัวผู้ป่วยขึ้น วิธีนี้
สามารถทําซํ้าจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา และสามารถใช้ได้กับเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปีและผู้ใหญ่
ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นทารกที่อายุตํ่ากว่า 1 ปี ให้ผู้ช่วยเหลือวางท้องแขนลงบนหน้าตัก จับผู้ป่วยอยู่ใน
ท่านั่ง แล้ววางใบหน้าของผู้ป่วยลงบนท้องแขน จากนั้นค่อย ๆ ทุบลงกลางหลังให้แรงมากพอจะทําให้สิ่ง
แปลกปลอมหลุดออกมาได้
หากยังไม่ได้ผลให้ใช้ 2 นิ้ววางตรงกลางกระดูกหน้าอก และปั๊มหัวใจ 5 รอบแบบเร็ว ๆ ทําซํ้า
จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา ในกรณีที่ไม่มีสิ่งแปลกปลอมขวางทางเดินหายใจ หากทารกหยุดหายใจ
ให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือแล้วจึงทํา CPR
ติดต่อสายด่วนช่วยชีวิต
ผู้ช่วยเหลือที่พบผู้ป่วยกําลังต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน ให้ตั้งสติ และติดต่อแจ้งเหตุ
ผ่านเบอร์โทรศัพท์ 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง