Page 128 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 128

  ให้ผู้ช่วยเหลือพาผู้ป่วยที่เป็นลมไปอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คน

               จอแจ และให้ดมแอมโมเนีย หรือยาดม เพื่อบรรเทาอาการ โดยผู้ช่วยเหลืออาจใช้ผ้าชุบนํ้าเช็ดหน้าควบคู่ไปด้วย
               ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยยังไม่มีอาการดีขึ้น ควรรีบพาส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์

                       2.4    อาการชัก

                       อาการชักมีหลายประเภทและมักจะหยุดลงในเวลาไม่กี่นาที อาจมีสัญญาณบอกล่วงหน้า เช่น รู้สึก

               หวาดกลัว หรือวิตกกังวลอย่างฉับพลัน รู้สึกปั่นป่วนในท้อง มึนงง ปวดศีรษะ การมองเห็นผิดปกติ ร่างกายชาไร้
               ความรู้สึก หรือการควบคุมแขนหรือขาเกิดความผิดปกติ ทั้งนี้ หากพบผู้ป่วยชักเกร็งกระตุกทั้งตัว ผู้ช่วยเหลือ

               ควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้

                         ผู้ช่วยเหลือควรตั้งสติไว้ให้ดี และอยู่กับผู้ป่วยจนกว่าจะหายชัก หรือกลับมารู้สึกตัวปกติดีอีกครั้ง
                         ให้ผู้ช่วยเหลือพยายามกันไม่ให้มีคนมุงดู โดยอาจขอความร่วมมือจากผู้อื่นให้เว้นระยะห่างให้

               ผู้ป่วยได้มีพื้นที่สงบและรู้สึกปลอดภัย ในกรณีที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่อันตราย เช่น บนท้องถนน หรือ

               บันได ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยและเป็นส่วนตัว

                         จับผู้ป่วยนอนตะแคงหนุนหมอน เพื่อป้องกันการสําลักนํ้าลาย หรือสําลักอาเจียน
                         ระมัดระวังไม่ให้ศีรษะของผู้ป่วยกระทบกระเทือน โดยผู้ช่วยเหลืออาจหาเสื้อผ้ามารองไว้ใต้ศีรษะ

                         ปลดเครื่องแต่งกายที่รัดแน่น เช่น กระดุมปกคอเสื้อ เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้น

                         พยายามให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก โดยการจับกราม และดันศีรษะไปด้านหลังเล็กน้อย
                         ห้ามเขย่าตัว ตะโกนใส่ หรือนําสิ่งของแปลกปลอมเข้าปากผู้ป่วยที่กําลังเกิดอาการโดยเด็ดขาด ไม่

               ว่าจะเป็นยาเม็ด หรือนํ้าเปล่า เพราะอาจทําให้เกิดการสําลักได้

                         ห้ามยึดยื้อหรือดึงรั้งแขนและขาของผู้ป่ วยที่มีอาการชัก เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ป่ วยกําลังจะได้รับ
               อันตรายจากการตกที่สูง หรือการตกนํ้า

                         ในระหว่างปฐมพยาบาลควรจดจําอาการ และระยะเวลาที่เกิดอาการว่านานเท่าไร เพื่อจะได้แจ้งแก่

               ผู้ป่วยหรือแพทย์ได้
                         หลังจากอาการชักสิ้นสุดลง มีความเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยอาจเพลียหลับไป ในกรณีนี้ให้ผู้ช่วยเหลือจัด

               ท่าผู้ป่วยนอนพลิกตะแคง เช็ดนํ้าลาย หรือสิ่งแปลกปลอมที่ไปอุดกั้นทําให้หายใจไม่สะดวก เช่น ฟันปลอม หรือ

               เศษอาหาร

                         หากผู้ช่วยเหลือสังเกตพบว่าผู้ป่วยชักอยู่นานเกินกว่า 5 นาที มีอาการชักซํ้า ๆ ติดกัน หายใจติดขัด
               ผิดปกติ หรือผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บที่รุนแรงระหว่างชัก ควรรีบนําตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจ

               วินิจฉัยโดยด่วน
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133