Page 32 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 32

2.      การประเมินความเสี่ยง


                       วัตถุประสงค์หลักของการประเมินความเสี่ยง ก็เพื่อตัดสินใจว่าแผนงาน หรือการควบคุมที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่ โดยมี

               เจตนารมณ์ให้ความเสี่ยงต้องถูกควบคุมก่อนที่อันตรายจะเกิดขึ้น องค์กรควรจะตระหนักว่า การประเมินความเสี่ยงเป็นรากฐาน
               ที่สําคัญของการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเชิงรุก ซึ่งเป็นสิ่งจําเป็นที่จะนําไปสู่ความสําเร็จ การประเมินความเสี่ยงมี

               พื้นฐานอยู่ที่การเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ ตกลงร่วมกันในการประเมินความเสี่ยง การบริหารจัดการโครงการใด ๆ แม้

               โครงการความปลอดภัยเป็นโครงการที่ต้องทําต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ก็จําเป็นต้องมีการติดตามดูประสิทธิภาพ การเปลี่ยนแปลง

               วิธีการเดิมที่ใช้ เปรียบเทียบกับปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นแนวทางการปรับปรุงสภาพการทํางานที่มีสภาพแวดล้อมหรือลักษณะที่
               ต่างกัน บางกรณีมีการนําไปใช้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุได้ด้วย นําไปสู่องค์กรที่มีอุบัติเหตุเป็นศูนย์

                       การชี้บ่งอันตราย หมายถึง กระบวนการในการค้นหาอันตรายที่มีอยู่ในแต่ละลักษณะงาน และกิจกรรม

               แล้วระบุ ลักษณะของอันตราย

                       ความเสี่ยง หมายถึง ผลลัพธ์ของความน่าจะเกิดอันตรายและผลจากการเกิดอันตรายนั้น

                       การประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการประมาณระดับความเสี่ยง และการตัดสินว่าความเสี่ยงนั้น

               อยู่ในระดับใด


                       ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หมายถึง ระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับโดยไม่จําเป็นต้องเพิ่มมาตรการ

               ควบคุมอีกซึ่งได้รับการพิจารณาจากการประเมินความเสี่ยงแล้วว่า โอกาสที่จะเกิด และความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น

               มีเพียงเล็กน้อย ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อาจเป็นผลจากการมีมาตรการที่เหมาะสมในการลด หรือควบคุม

               ความเสี่ยง

                       การประเมินราคาของการป้องกันอุบัติเหตุ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการตัดสินใจของผู้ประกอบการ

               มาก ปัจจัยที่สําคัญที่จะชี้วัดให้เห็นความเจริญก้าวหน้าของการดําเนินการต่าง ๆ ผลลัพธ์ที่ชี้วัดสามารถทําได้ทั้ง

               ทางตรง เช่น ค่ารักษาพยาบาลที่ลดลง ค่าชดเชยทดแทนที่ลดลง ค่าประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่มของพนักงานใน

               บริษัทตํ่าลง เป็นต้น ทางอ้อม เช่น พนักงานลาออกเนื่องจากการเสียขวัญกําลังใจลดลง พนักงานทํางานได้อย่างมี

               ประสิทธิภาพผลผลิตสูงขึ้น มีการหยุดชะงักของสายการผลิตเนื่องจากอุบัติเหตุลดลง เป็นต้น แม้ผู้ประกอบการ


               ส่วนมากต้องการเห็นผลสําเร็จจากผลกําไรที่เพิ่มขึ้น การจัดการด้านความปลอดภัยก็เพื่อป้องกันการพิจารณาการ

               เกิดอุบัติเหตุ แต่ก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ เพื่อให้ผู้ประกอบการเห็นความสําคัญในการ

               ป้องกันอุบัติเหตุ
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37