Page 33 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 33
นอกจากในแง่มุมของผู้ประกอบการแล้วการที่จะส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของการ
ป้องกันอุบัติเหตุ หากขาดความร่วมมือจากผู้ปฏิบัติงานทุกท่านในการปฏิบัติตามขั้นตอนการทํางานอย่าง
ปลอดภัยก็จะไม่เป็นผลที่ดีในการลดอุบัติเหตุ ในทุก ๆ กิจกรรมต้องเสริมสร้างความเข้าใจ และทัศนคติการ
ป้องกันอันตรายให้เป็นเรื่องที่ทุกท่านต้องทําดังคํากล่าวว่า “ความปลอดภัยในการทํางานอยู่ในมือเราทุกคน”
การอบรมพนักงานใหม่ก่อนเริ่มงานทุกครั้ง ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะมีความสามารถจากการทํางานในสถานที่เดิมมา
แค่ไหนสุดท้าย เมื่อเปลี่ยนสถานที่ทํางานใหม่ก็ต้องปรับพื้นฐานความรู้ให้เท่ากับผู้ร่วมงานอื่น ๆ และเห็น
ความสําคัญต่อการรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นในการป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดจากตนเองในการทํางาน
3. การคํานวณค่าใช้จ่ายของอุบัติเหตุ
Heinrich (1969) ทําการศึกษาสัดส่วนการเสียค่าใช้จ่ายโดยตรงกับค่าใช้จ่ายโดยอ้อมในกรณีอุตสาหกรรม
อเมริกา ว่าคิดเป็น 1:4 แม้ว่าตัวเลขสัดส่วนนี้ จะไม่ได้รับรองได้ว่านํามาใช้ได้ในอุตสาหกรรมไทยได้หรือไม่ก็
ตาม เนื่องจากมีขนบธรรมเนียม ประเพณี สภาพเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน และในอุตสาหกรรมของอัฟริกาใต้
Matthysen (1973) ได้รายงานสัดส่วนการเสียค่าใช้จ่ายโดยตรงกับค่าใช้จ่ายโดยอ้อมว่าเป็น 1:10 ดังนั้น ของ
ประเทศไทยที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กําลังพัฒนาน่าจะอยู่ระหว่างนี้ โดยพิจารณาจากอุตสาหกรรมที่มี
กระบวนการผลิต และการจัดการที่คล้ายคลึงกัน
การคํานวณอัตราการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อให้การเปรียบเทียบสถิติของการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานประเภท
ต่างๆ หรือหน่วยงานต่างๆในโรงงานเดียวกันเป็นไปได้อย่างถูกต้อง จึงต้องกําหนดให้มีมาตรฐานอย่างเดียวกัน
โดยคิดเป็นจํานวนครั้งหรือความร้ายแรงของอุบัติเหตุภายใน 1,000,000 ชั่วโมงคนงาน (man-hours)
อัตราที่นิยมใช้ในการคํานวณเกี่ยวกับสถิติอุบัติเหตุ ได้แก่ อัตราความถี่ของอุบัติเหตุ (Frequency Rate) และ
อัตราความร้ายแรงของอุบัติเหตุ (Severity Rate)
ตารางมาตรฐานประมาณวันทํางานที่เสียไปเนื่องจากการประสบอันตรายโดยเปรียบเทียบการสูญเสีย
อวัยวะต่างๆ เป็ นทั้ งร่ างกาย (GUIDES TO THE EVALUATION OF PERMANENT IMPAIRMENT
ของ AMERICAN MEDICAL ASSOCIATION) ดังตารางที่ 5.1