Page 47 - E-BOOK ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง
P. 47
ทํางานอยู่กับวัสดุ อุปกรณ์ ต่างๆ ซึ่งวิธีการนี้ต้องการผู้ที่ทํางานประจําอยู่หน้างาน ช่วยกันชี้บ่งอันตรายโดยทําอย่าง
ต่อเนื่องสมํ่าเสมอพร้อมๆ กับการทํางาน วิธีการที่กล่าวมานั้น คือ Job Safety Analysis (JSA) และ การชี้บ่ง
อันตรายโดยวิธี มอก.18001 ดังนั้นคู่มือเล่มนี้จะแสดงวิธีคิดในการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงของทั้งสองวิธี
ผสมผสานกันเพื่อนําข้อมูลที่ได้ไปกรอกในตารางแบบของ 2 วิธี ได้อย่างถูกต้องแม่นยําเพราะตารางแบบของทั้ง 2
วิธีระบุเงื่อนไขทั่วๆ ไปเปรียบเหมือนตารางสรุปอันตรายและความเสี่ยง ที่ทําให้เกิดการประสบอันตรายจากการ
ทํางาน
การชี้บ่งอันตรายแบบจับคู่ชี้บ่งอันตราย เป็นวิธีการหนึ่งที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถวิเคราะห์
งานที่ปฏิบัติ และระบุอันตรายที่จะเกิดขึ้นตลอดจนกําหนดวิธีการทํางานที่ปลอดภัยได้ และง่ายต่อการนําไปใช้
สําหรับสถานประกอบกิจการทุกประเภท วิธีการนี้มีหลักในการดําเนินงาน ประกอบด้วย
1. ระบุ ชื่องาน ชื่อจุดทํางาน ชื่อจุดต้องสนใจ ชื่องานพิเศษ
2. ชี้บ่ง เพื่อทําให้ทราบว่า จะเกิดอันตรายอะไรได้บ้าง
3. ประเมิน ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอันตรายมากน้อยเท่าใด ความเสี่ยงนั้นยอมรับได้ หรือไม่
4. กําหนด มาตรการป้องกันเพื่อความปลอดภัย แล้วนํามาสร้างแบบตรวจของแต่ละความเสี่ยง
5. จูงใจ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่กําหนดไว้
6. ควบคุม ด้วยแบบตรวจแต่ละความเสี่ยงที่สร้างขึ้น หากพบว่ายังมีความเสี่ยงอันตรายเกิดขึ้น อีกอาจต้อง
ทําการปรับปรุงหรือเพิ่มมาตรการการป้องกันที่มีอยู่เดิมให้สมบูรณ์ครบถ้วน
ฝึกปฏิบัติการชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการทํางานแบบจับคู่ชี้บ่งอันตราย
การดําเนินการชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการทํางานแบบจับคู่ชี้บ่งอันตรายมีขั้นตอนการ
ดําเนินการ 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. จัดทําแบบบัญชีรายการจุดทํางาน
2. จัดทําแบบจับคู่ชี้บ่งอันตราย
3. จัดทําแบบวิเคราะห์จุดทํางานเพื่อความปลอดภัย
4. จัดทําแบบตรวจกิจกรรมเสี่ยง
5. จัดทําแบบตรวจสอบข้อผิดพลาด
จัดทําแบบบัญชีรายการจุดทํางาน
งานแต่ละงานจะประกอบด้วย ชื่องาน ชื่อกิจกรรม ขั้นตอนงาน และจุดทํางาน ซึ่งจุดทํางานจะทําให้
เรารู้ถึงสถานที่ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งสามารถแจกแจงได้ดังนี้
- งานแต่ละงาน ประกอบไปด้วย กิจกรรม
- แต่ละกิจกรรม ประกอบไปด้วย ขั้นตอนงาน